Page 350 - kpi20858
P. 350
308
มุมมองและระยะ การวิเคราะห์
มีการก าหนดมุมมองในระดับสายตาแบบปกติ และ
ปรากฏระยะภายในเพียง 2 ระยะ คือ ระยะหน้าเป็น
ส่วนของรูปทรงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุ
ประภาต และมีพื้นหลังเป็นระยะที่ 2
สีและแสง-เงา การวิเคราะห์
มีการก าหนดค่าน ้าหนักของสีเพื่อแสดงแสงเงา จิตร
กรก าหนดแสงเข้ามาทางด้านซ้ายของภาพ ปะทะที่
ส่วนของพระพักตร์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
จิรศักดิ์สุประภาต และที่พื้นหลังที่ด้านขวาของภาพ
เพื่อความสมจริงตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ที่พื้น
หลังของภาพมีการใช้สีน ้าตาลเข้ม โดยไล่น ้าหนัก
ของสีให้กลืนไปกับสูทสีด า ช่วยขับเน้นพระพักตร์ให้
ดูโดดเด่นยิ่งขึ้น
ตารางที่ 22 การวิเคราะห์รูปแบบ ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลของ แนม สุวรรณแพทย์
ที่มา: ผู้วิจัย
รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมของแนม สุวรรณแพทย์ มีการน าเสนอกายวิภาค
มนุษย์แบบเหมือนจริง แม้ว่าทักษะและชั้นเชิงจะยังไม่เทียบเท่าพระสรลักษณ์ลิขิต แต่ก็สะท้อนให้
เห็นว่าแนมมีความใฝ่ใจ และมีความพยายามอย่างสูงในการน าเสนอภาพจิตรกรรมภาพเหมือน
บุคคลแบบจิตรกรรมตะวันตก ด้านการน าเสนอมุมมองและระยะของภาพ พบว่ามักมีมุมมองใน
ระดับสายตาปกติ ซึ่งเหมาะสมกับจิตรกรรมประเภทภาพเหมือนบุคคล อีกทั้งการสร้างภาพพระบรม
สาทิสลักษณ์ขณะนั้น ยังเกิดจากการใช้ภาพพระบรมฉายาลักษณ์เป็นต้นแบบ ดังนั้นจิตรกรจึงมี
กรอบจ ากัดในการสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับการสร้างระยะที่มีภาพพระบรมฉายาลักษณ์เป็นต้นแบบ
อย่างไรก็ตามพบว่าภาพพระบรมสาทิสลักษณ์มักถ่ายทอดเพียง 2 ระยะ คือระยะหน้า และระยะ
หลัง คือภาพบุคคลและฉากด้านหลัง ด้านการใช้สีของแนม สุวรรณแพทย์มีเอกลักษณ์เฉพาะตน