Page 351 - kpi20858
P. 351
309
กล่าวคือ มีแนวทางในการสร้างความแตกต่างของฝีแปรงเพื่อเบ่งแยกระยะ โดยที่ระยะหน้าซึ่งเป็น
ส่วนของพระพักตร์และพระวรกาย มักเกลี่ยสีเรียบเนียน ใส่ใจส่วนรายละเอียดอย่างประณีต ในขณะ
ที่ระยะหลังมักใช้ฝีแปรงหยาบ ขนาดใหญ่ และละทิ้งรายละเอียดต่างๆ ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้น
ในผลงาน
4.1.2.1.3 เทียม จิตรสาสตร์
4.1.2.1.3.1 ภูมิหลัง
เทียม จิตรสาสตร์ เป็นจิตรกรที่มีประวัติ และแนวทางการสร้างผลงานอันเลือนราง ปรากฏ
เพียงผลงานภาพเขียนดินสอด าเป็นภาพ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สันนิษฐานว่า กลวิธีการเขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ภาพนี้เขียนขึ้นจากการมีพระบรมฉายา
ลักษณ์เป็นต้นแบบ เช่นเดียวกับภาพเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์อื่นๆ ในสมัยนั้น
4.1.2.1.3.2 รูปแบบ
เทียม จิตรสาสตร์ เขียนภาพเหมือนบุคคลด้วยรูปแบบเหมือนจริงตามแนวทางจิตรกรรม
แบบตะวันตก ผลงานสะท้อนให้เห็นความค านึงถึงรูปทรงที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาค มีการสร้าง
ระยะและแสงเงาอย่างสมจริง โดยสามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รายละเอียดภาพ
เทียม จิตรสาตร์, “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7”, ดินสอด าบนกระดาษ, 98x64
ซม.,วังศุโขทัย กรุงเทพฯ
ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว ประทับยืน ไม่เต็มพระองค์เผยให้เห็นถึง
เพียงพระชานุ จัดวางที่กึ่งกลางกระดาษ หันพระ
พักตร์ทอดพระเนตรออกไปด้านขวาภาพ ทรงฉลอง
พระองค์... พระหัตถ์ขวาถือหมวก... พระหัตถ์ซ้ายทรง
ถือพระแสงดาบ
ที่มาภาพ: อภินันท์ โปษยานนท์, จิตรกรรมและ
ประติมากรรมแบบตะวันตกในราชส านัก เล่ม ๑
(กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2537) 269.