Page 120 - kpi20858
P. 120
77
2467 อีกทั้งท่านยังเป็นผู้มีความรู้ความช านาญทางด้านการถ่ายภาพจนได้รับต าแหน่งผู้อ านวยการ
122
ร้านถ่ายรูป ฉายานรสิงห์ ซึ่งเป็นร้านถ่ายรูปหลวง นอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านการวาดฉาก
ละคร และงานช่างไทย เช่น งานประเภทประดับมุก และงานแทงหยวก ดังที่จีระ จิตรกร เล่าว่า
“พระเจ้าอยู่หัวท่านแต่งบทละคร แล้วท่านก็บอกให้คุณพ่อวาดฉากละครให้... คือคุณพ่อไม่ได้
ท างานจิตรกรรมอย่างเดียว ท่านท างานฝีมือ วาดเป็นลวดลายต่างๆ ฝังมุก คือเดิมเค้าเรียกว่าช่าง
สิบหมู่ คุณพ่อผมก็ท าทั้งหมด พวกหีบมุกสวยๆ ตะลุ่ม... ได้ทราบว่า เวลามีงานศพคุณพ่อก็ไปช่วย
123
แทงหยวก”
พระยาอนุศาสน์ ได้มีโอกาสรับใช้ สนองพระเดชพระคุณในหลวงรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่
7 สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงเวลาที่ออกราชการแล้วก็ตาม กล่าวคือ พระยา
อนุศาสน์ออกจากราชการในปี พ.ศ.2469 ทว่าภายหลังยังปรากฏผลงานจิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถ
วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร ตลอดจน พระวิหารวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตลอดจนผลงานส่วนตัว
ภาพที่ 5 บันทึกการสร้างจิตรกรรมฝาผนัง โดยพระยาอนุศาสน์ จิตรกร ที่ผนังด้านหลังพระประธาน ภายในพระ
อุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร
ที่มาภาพ: ผู้วิจัย
หนึ่งในผลงานชิ้นส าคัญคือ จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติตามคติพุทธกับเทพเจ้าใน
คติพราหมณ์ภายในพระอุโบสถวัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร มีจุดมุ่งหมายในการสร้างคือ เพื่ออุทิศ
ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว... เขียนขึ้นระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2471
124
ถึงสิงหาคม พ.ศ.2473 ดังปรากฏอยู่ที่ผนังบริเวณด้านหลังของพระประธาน (ภาพที่ 5) ความว่า
122 เรื่องเดียวกัน, 4.
123 จีระ จิตรกร, สัมภาษณ์, บุตรชายพระยาอนุศาสน์ จิตรกร, 11 กุมภาพันธ์ 2562.
124 ฐานข้อมูลการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวส าหรับนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน,
วัดสามแก้ว, เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.me-fi.com/tourismdb/Seniortourists-
ust/data_detail.php?cateLv=2&cateID=39&subid=863&dataID=7735