Page 119 - kpi20858
P. 119

76






                            ภายหลังจากอุปสมบท พระยาอนุศาสน์ ได้เข้ารับราชการในต าแหน่งส าคัญ จวบจนกระทั่ง
                       ออกจากราชการ พระยาอนุศาสน์ ได้สนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ตลอดทั้งสิ้นถึง 3 รัชกาล

                       ดังปรากฏในหนังสือ ประชุม นิราศภาคที่ 1 ซึ่งมีการกล่าวถึงประวัติของท่าน ดังนี้


                                  ...พ.ศ. 2435 ได้อุปสมบทที่วัดสังเวชวิศยารามโดยมีพระปิฎกโกศล (อ่วม) เป็นพระ
                            อุปัชฌาย์ เมื่อลาสิกขาแล้วจึงเข้ารับราชการ โดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าบรมวงศ์

                            เธอ  กรมหลวงสรรพสาสตร์ศุภกิจ  ต่อมาเมื่อเห็นว่ามีฝีมือทางช่าง  จึงได้น าตัวเข้าถวายต่อ
                            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในต าแหน่งช่างเขียนในพระบรมมหาราชวัง

                            ต่อมาใน  พ.ศ.2440  สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ  ทรงเป็นผู้ส าเร็จราชการแทน

                            พระองค์ โปรดเกล้าฯให้ท่านเป็นข้าหลวงน้อย รับต าแหน่งเป็นพระพี่เลี้ยงสมเด็จพระเจ้าลูก
                            ยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์  ต่อมา  พ.ศ.2448  ย้ายไปรับราชการในสมเด็จพระบรม

                            โอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร  (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)  มีบรรดาศักดิ์
                            เป็นหลวงบุรีนวราษฎร์  จนในปี  พ.ศ.2454  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เป็นพระยา

                            อนุศาสน์ จิตรกร จางวางกรมช่างมหาดเล็ก รับพระราชทานที่ดินต าบลบางขุนพรหม พระยา

                            อนุศาสน์ จิตรกร รับราชการจนถึง พ.ศ.2469 ก็โปรดเกล้าฯ ให้ออกจากราชการรับพระราช
                                      121
                            ทานบ านาญ

                              ตลอดการรับราชการ พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ได้สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ ด้วย

                       ความสามารถด้านศิลปะอันหลากหลาย  ท าให้ปรากฏผลงานในสาขาต่างๆ  ด้านจิตรกรรม  อาทิ
                       จิตรกรรมชาดกในพระวิหารหลวง จังหวัดนครปฐม จิตรกรรมภาพพุทธประวัติ อุโบสถวัดสามแก้ว

                       จังหวัดชุมพร จิตรกรรมพงศาวดารเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในพระวิหารวัดสุวรรณดาราราม

                       จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านผลงานวรรณกรรม โดยมากเกิดขึ้นจากพระกระแสรับสั่ง ปรากฏอยู่

                       ในงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น กาพย์ห่อโคลงชมกระบวน
                       เรือยนตร์ และเรือประเทียบ เสด็จพระราชด าเนิรประพาศทุ่งทองพรหมาศน์ จังหวัดลพบุรี แต่งเมื่อ

                       พ.ศ.  2464  เป็นเรื่องแรกที่ท่านได้เริ่มงานประพันธ์และได้รับค าชมเชยจากล้นเกล้าฯ  รัชกาลที่  6,

                       กาพย์ห่อโคลง  เสด็จพระราชด าเนิรหาดเจ้าส าราญ  จังหวัดเพ็ชรบุรี  พ.ศ.2465,  นิยายกลอนเรื่อง

                       ท้าวอุเทนและโฆษกเศรษฐี  เป็นผู้มีชื่อเสียงในเมืองโกสัมพี  แต่งเมื่อ  พ.ศ.2465  (แก้ไขดัดแปลง
                       ข้อความบางตอนพิมพ์ใหม่เมื่อ พ.ศ.2466), จดหมายเหตุเสด็จประพาศนิเวศน์มฤคทายวัน  แต่งเมื่อ

                       พ.ศ.2467,  และนิราศนครวัด  ท าการดัดแปลงแก้ไขใหม่ให้ชื่อว่า  เรื่องเที่ยวนครวัดนครธม  พ.ศ.




                           121  พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร),  หลวงส ารวจวิถีสมุทร (ฟุ้ง พร้อมสัมพันธ์) และนายกระจ่าง แสงจันทร์.
                       ประชุม นิราศภาคที่ 1), 3.
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124