Page 121 - kpi20858
P. 121

78






                                  มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสนจิตรกร (จันทร จิตรกร) รับช่วยพระธรรมวโรดม (แต่เมื่อ
                            ยังด ารงสมณศักดิ์เปนพระธรรมโกศจารย์)  เขียนภาพในอุโบสถนี้  วันที่  ๖  มกราคม  พระ

                            พุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้ลงมือร่างและเขียนด้วยความพยายาม มิได้คิดถึงความยากล าบาก
                            เมื่อมีธุระจ าเป็นก็กลับกรุงเทพฯ  ครั้นยามว่างจึงออกมาเขียนต่อไป  ถึงเดือนสิงหาคม  พระ

                            พุทธศักราช ๒๔๗๓ การเขียนภาพจึงแล้วสมบูรณ์ และมิได้คิดมูลค่าเพราะความศรัทธาใน
                            พระพุทธสาสนา  ขออุทิศกุศลนี้ถวายแด่สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ  พระ

                                             125
                            มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                              ข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น  และความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา

                       ตลอดจนความซาบซึ้งพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับ  เมื่อครั้งรับราชการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ

                       เกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกล่าวถึงเนื้อหาที่ปรากฏในพระอุโบสถวัดสามแก้ว สามารถแบ่งเป็นสามตอน คือ

                       ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง ดังที่ จุมพล  เพิ่มแสงสุวรรณ ได้กล่าวถึง ดังนี้

                                  การจัดล าดับของภาพในอุโบสถนั้นยังแบ่งเป็น  3  ชั้น  ตามคติแนวความคิดแบบ

                            ประเพณีนิยม  คือ  ด้านบนสุดเป็นเทวดา  และนางฟ้า  ถัดลงมาเป็นเทพชุมนุม  ประกอบ

                            ด้วยเทพต่างๆทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ  ด้านล่างสุดระหว่างช่องหน้าต่างและ
                            บานประตูวาดเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ    พื้นที่บนเพดาน ถูกวาดด้วยลวดลายดาวเพดาน

                                                                                           126
                            ตามคติประเพณี ส่วนพื้นที่บริเวณโครงสร้างเสาและคานถูกตกแต่งด้วยลายไทย
                              สอดคล้องกับฐานข้อมูลการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว  ส าหรับนักท่องเที่ยวใน

                       เขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน ที่ได้กล่าวถึงการแบ่งผนังเพื่อเขียนภาพจิตรกรรม ว่ามีทั้งสิ้น 3

                       ตอน คือ ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง ดังต่อไปนี้

                                  ตอนบนสุด เป็นภาพเทพนม ทั้งเทพบุตรและเทพธิดา ตอนกลาง เป็นภาพเทพเจ้าใน

                            ศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ ท้าวจัตุโลกบาล เทวดานพเคราะห์ คณะเทพและพระโพธิสัตว์ และ
                            ตอนล่างสุด ตามช่องผนังระหว่างเสาและบานประตูหน้าต่างเป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้าน

                                                                            127
                            หน้าเป็นภาพ แม่ธรณีบีบมวยผมขนาดใหญ่ ฝีมืองดงามมาก




                              ข้อความบนผนังด้านหลังพระประธาน ภายในพระอุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร
                           125
                           126  จุมพล  เพิ่มแสงสุวรรณ, อุโบสถวัดสามแก้ว จินตภาพของศิลปกรรมไทยประยุกต์ : ยุคสยามใหม่, เข้าถึง
                       เมื่อ 23 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/art/article_26286

                           127 ฐานข้อมูลการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวส าหรับนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน,
                       วัดสามแก้ว, เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.me-fi.com/tourismdb/Seniortouristsust/data_
                       detail.php?cateLv=2&cateID=39&subid=863&dataID=7735
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126