Page 122 - kpi20858
P. 122

79






                              อย่างไรก็ดีศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์  คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัย
                       ศิลปากร ได้กล่าวถึงเนื้อหาพุทธประวัติที่ปรากฏบนผนังตอนล่าง ระหว่างเสาและบานประตู ภายใน

                       พระอุโบสถวัดสามแก้ว เป็นฉากตอนต่างๆ โดยจะไล่เรียงจากด้านซ้ายของพระประทาน วนไปบรรจบ

                                                128
                       ที่ด้านขวา ตามหลักทักษิวรรต  ดังต่อไปนี้
                                  เจ้าชายสิทธัตถะทรงกระท าทุกรกิริยา  คือ  การทรมานร่างกายจนกว่าจะไม่สามารถ

                            อดทนได้อีก โดยพระองค์เชื่อว่าอาจเป็นหนทางน าไปสู่การดับทุกข์ได้ ระหว่างนั้นปัญจวัคคีย์
                            ได้มาเห็นการบ าเพ็ญเพียรของพระองค์  ได้เกิดความเลื่อมใสจึงมาปรนนิบัติรับใช้พระองค์

                            อยู่ตลอดระยะเวลาการบ าเพ็ญทุกกิริยา

                                  ขณะเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้  35  พรรษา  นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส

                            (หุงด้วยนม)  ใต้ต้นไทร  เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น ้าเนรัญชรา  ทรงอธิษฐาน

                            เสี่ยงพระบารมีว่าหากตนนั้นตรัสรู้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ขอให้ถาดทองในแม่น ้า
                            เนรัญชรานั้นลอยทวนน ้า หากไม่แล้วก็ให้ถอดทองเลยตามน ้าเช่นเดิม หลังอธิษฐานเสร็จสิ้น

                            ถาดทองในแม่น ้าเนรัญชราก็ได้ลอยทวนน ้าขึ้นมาเป็นอัศจรรย์  และเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้

                            เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเดียวกันนั้นเอง

                                  หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จกลับจากอธิษฐานที่แม่น ้าเนรัญชรา ระหว่างทางเสด็จ

                            ไปยังพระศรีมหาโพธิ์  พระองค์ได้สวนทางกับชายผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในวรรณะพราหมณ์ชื่อโสตถิ
                            ยะ  พราหมณ์โสตถิยะเดินถือก าหญ้าคามา  ๘  ก า  ได้ถวายหญ้าคาทั้ง  ๘  ก าแก่พระองค์

                            พระองค์ทรงรับแล้วทรงน าไปปูเป็นอาสนะส าหรับประทับนั่งที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์

                                  ในวันที่เจ้าชายสิทธัตถะจะตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พญามารได้ส่ง

                            บุตรีทั้งสามของตนมาร่ายร าหน้าพระพักตร์เจ้าชายสิทธัตถะ เพื่อขัดขวางมิให้พระองค์ตรัสรู้
                            เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

                                  ตะปุสสะ ภัลลิกะ สองพี่น้องวาณิชมอญ ผู้เดินทางค้าขายยังชมภูทวีป แดนพุทธภูมิ

                            ได้พบและถวายภัตตาหารแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประทับนั่งใต้ร่มพระศรีมหา

                            โพธิ์หลังตรัสรู้ไม่นาน พ่อค้ามอญคู่นี้จึงนับเป็นอุบาสกคู่แรกของโลก


                           128   ทักษิณาวรรต  มีความหมายว่า  การเวียนขวา  หรือเวียนไปทางขวา  คือเวียนเลี้ยวไปทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา
                       ทักษิณาวรรต มาจากค า ๒ ค า รวมกัน คือ ทักษิณ ซึ่งแปลว่า มือขวา ขวามือ... ความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนขวาว่า ตามคติ
                       ของอินเดียทั้งฝ่ายพราหมณ์และฝ่ายพุทธถือว่า เมื่อบุคคลเดินเวียนขวารอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง... จะบังเกิดมงคลแก่ผู้เวียนเป็น

                       อย่างยิ่ง โดยมากนิยมเวียน ๓ รอบ เท่ากับจ านวนพระเวททั้ง ๓ หรือจ านวนพระรัตนตรัย... คนไทยรับคติการเวียนแบบ
                       ทักษิณาวรรตมา นิยมเวียนรอบพุทธศาสนสถาน เช่น พระอุโบสถ พระธาตุ พระพุทธรูป... อ้างจาก ส านักราชบัณฑิตยสภา
                       , “เวียนขวาหรือเวียนซ้าย,” เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127