Page 127 - kpi20858
P. 127
84
คราชผู้มีฤทธิ์มาก พระพุทธเจ้าชนะด้วยวิธีให้นาคคือพระโมคคัลลานเถระ ผู้เป็นชิโนรสไป
แผลงฤทธิ์ทรมาน ด้วยเดชะความชนะของพระพุทธเจ้านั้น ขอชัยมงคลจงมีแด่ท่านเถิด”
8. ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พฺรัหฺมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณา
คะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ “พกาพรหมผู้มีฤทธิ์
ส าคัญตนว่ารุ่งเรืองด้วยความบริสุทธิ์ มีมืออันอสรพิษ คือการถือทิฏฐิผิดขบไม่วาง พระ
พุทธเจ้าก็ชนะได้ด้วยวิธีคือพระญาณปรีชาดังงูพิษ ด้วยเดชะความชนะของพระพุทธเจ้านั้น
ขอชัยมงคลจงมีแด่ท่านเถิด”
ส่วนที่เหลือเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติในตอนต่างๆ ได้แก่ การบ าเพ็ญทุกข์
กิริยา, การรับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา, การแสดงโอวาทปาติโมกข์, ตะปุสะและพัลลิ
132
กะถวายสะตุผงสะตุก้อน, แสดงธรรมแก่ปัจจวัคคีย์, ทรงชนะธิดาพญามาร ฯลฯ
นอกจากนี้ จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ ยังได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของพระยาอนุศาสน์ที่ก าหนด
เรื่องราวในการวาดภาพประกอบบทคาถาพาหุงในอุโบสถวัดสามแก้วแห่งนี้ว่า นอกเหนือจากการ
ระลึกถึงพุทธธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงชนะหมู่มารแล้ว อาจแสดงนัยทางสังคมและการเมืองยุค
สมัยนั้นร่วมด้วย กล่าวคือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ซึ่งพระยาอนุศาสน์ได้รับราชการ
อยู่นั้น เป็นเวลาที่สยามต้องประสบกับภาวะความไม่สงบของบ้านเมือง ทั้งจากภายในและภายนอก
ประเทศ ทั้งกบฏ ร.ศ.130 (พ.ศ.2455) จากความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตลอดจนจาก
การที่สยามประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปีพ.ศ.2460 และการคุกคามจากตะวันตก ดังนั้น
การเขียนภาพพาหุงที่อุโบสถแห่งนี้ อาจมีนัยเปรียบเทียบและสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
133
เกล้าฯ เป็นดังพระพุทธเจ้าที่ เอาชนะหมู่มารทั้งหลายได้
ด้านรูปแบบการน าเสนอภาพในงานจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดสามแก้วแห่งนี้ ปรากฏว่ามี
การใช้รูปแบบการผสมผสานจิตรกรรมประเพณีเข้ากับแนวคิดแบบตะวันตก คือมีความพยายามใน
การสร้างภาพแบบเหมือนจริง ดังที่ปรากฏบนป้ายหน้าพระอุโบสถ ที่สร้างขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย ความว่า “เป็นจิตรกรรมที่ผสมผสานภาพไทยโบราณ และให้แสงเงาแบบศิลปะตะวันตก
แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะตะวันตกที่คนไทยสมัยนั้นรับเข้ามาผสมผสานกับศิลปะ” ประกอบ
134
กับบทความของ จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ ที่กล่าวถึงเรื่องรูปแบบ เอาไว้ดังนี้
132 จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ, อุโบสถวัดสามแก้ว จินตภาพของศิลปกรรมไทยประยุกต์: ยุคสยามใหม่, เข้าถึง
เมื่อ 23 กรกฎาคม 2562 เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/art/article_26286
133 เรื่องเดียวกัน.
134 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ป้ายหน้าพระอุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร