Page 129 - kpi20858
P. 129
86
ลักษณะรูปแบบของการสร้างงานจิตรกรรม ที่รับเอาอิทธิพลศิลปะตะวันตกนี้ ไม่เพียงแต่มี
การน าเอากายวิภาค ทัศนียวิทยา และทฤษฎีแสงเงา เข้ามาน าเสนอเท่านั้น ทว่าทิศทางการมองของ
ตัวภาพ องค์ประกอบและจังหวะลีลาที่พระยาอนุศาสน์จัดวางต่างๆ ท าให้ผู้ชมเกิดมีส่วนร่วมไปกับ
เหตุการณ์เหล่านั้นด้วย นอกจากการน าเสนอด้วยภาษาภาพแล้วนั้น ภายในอุโบสถยังปรากฏตัว
อักษรที่ฝาผนังด้านหลังและด้านหน้าพระประธาน กล่าวคือ ที่ด้านหลังพระประธาน ปรากฏอักษร
คาถา ดังที่จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ กล่าวถึงว่า
บนฝาผนังด้านหลังพระประธาน พบตัวอักษรที่เขียน คาถา “เยธัมมา เหตุปัปภวา
เตสัง เหตุ ตถาคโต เตสัญจะโย นิโร โธจะ เอวังวาที มหาสมโณติ” แปลว่า “ธรรมเหล่าใด
เกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระ
มหาสมณะ มีวาทะตรัสไว้ดังนี้” คาถานี้ถือว่าเป็นแก่นหรือหัวใจของพุทธศาสนา และอยู่ใน
ต าแหน่งระดับเดียวกันกับพระประธาน ส่วนที่ฝาผนังตรงข้ามพระประธานเหนือภาพมาร
ผจญนั้นปรากฏสัญลักษณ์ “อิ สวา สุ” เขียนเป็นอักษรขอม อยู่ภายในรูปดอกบัว ซึ่งเป็น
คาถาบูชา พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ มาจากค าย่อ คือ
“อิ” มาจากบท อิติปิโส ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ ฯลฯ
“สวา” มาจากบท สฺวากขาโต ภควตา ธมฺโม ฯลฯ
137
“สุ” มาจากบท สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ฯลฯ
จิตรกรรมภายในอุโบสถวัดสามแก้วแห่งนี้ มีรูปแบบศิลปะและวิธีการน าเสนอตามแนวทาง
แบบตะวันตก ทว่าน าเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับความเป็นตะวันออก ถือเป็นผลงานที่ส าคัญของ
พระยาอนุศาสน์ จิตรกร อีกชิ้นหนึ่งที่ท่านสร้างขึ้นด้วยความมุ่งมั่น อันเกิดจากความศรัทธาทาง
ศาสนา ตลอดจนเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือ
เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะที่สะท้อนสยามในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
137 เรื่องเดียวกัน.