Page 125 - kpi20858
P. 125
82
นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีการกล่าวถึงเนื้อหาตอนกลางของพระอุโบสถบางผนัง ดังที่ได้
กล่าวถึงฉากตอนส าคัญ ซึ่งอยู่ในต าแหน่งผนังด้านตรงข้ามพระประธาน ความว่า “เหตุการณ์นี้
พญามารได้ยกทัพของตนเข้ามาขัดขวาง มิให้เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้า พระองค์จึงร าลึกของบุญบารมีที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ในกาล
ก่อน ก่อก าเนิดเป็นพระแม่ธรณีบีบมวยผมออกมาเป็นสายน ้า ท่วมกองทัพพญามารจนแตกทัพ
130
และพ่ายแพ้ในที่สุด” ตลอดจนกล่าวถึงเทพเจ้าตามคติความเชื่อของพราหมณ์ ซึ่งปรากฏที่ผนัง
ตอนกลางเช่นเดียวกัน ดังนี้
เทพนพเคราะห์ คือ เทพทั้ง ๙ องค์ ผู้ครองเรือนชะตาของมนุษย์ มีต้นก าเนิดมาจาก
โหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙
องค์ ซึ่งให้โทษหรือสร้างอุปสรรคให้กับมนุษย์มากกว่าจะให้คุณ ต่อมาจึงต้องมีผู้ควบคุม
เทพนพเคราะห์อีกชั้นหนึ่ง นั่นคือ พระคเณศ เทพผู้เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล
พระพิฆเนศมีรูปกายเป็นมนุษย์เพศชายอ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้าง
เดียว (ถูกขวาน ปรศุรามหักเสียงา) สีกายสีแดง (บางแห่งว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง) มีสี่กร พระ
หัตถ์หน้าขวาถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายถือขันน ้ามนต์ เป็นกะโหลกศีรษะมนุษย์ พระหัตถ์หลัง
131
ขวาถือ ตรี พระหัตถ์ซ้ายถือบาศ (บ่วง)
ข้อมูลข้างต้นคือรายละเอียดฉากตอนต่างๆ ที่ปรากฏในบนผนังพระอุโบสถ ซึ่งมีบางผนังที่
เนื้อหาไม่ปรากฏ ทั้งนี้ จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ ได้อธิบายถึงเนื้อเรื่องที่ปรากฏบนผนังอุโบสถว่า เนื้อ
เรื่องนั้นส่วนหนึ่งเป็นเรื่องราวที่มาจากบทพาหุง ความว่า
ภาพจิตรกรรมที่แสดงเนื้อเรื่องบนผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูนั้น ส่วนหนึ่ง
เป็นเนื้อเรื่องที่มาจากบทพาหุง (พุทธชัยมงคล 8) แสดงถึงตอนส าคัญที่พระพุทธเจ้าชนะ
มารทั้ง 8 ครั้ง บทพาหุง นี้เรียกอีกอย่างว่า “ค าถวายพรพระ”...นิยมมาตั้งแต่ในสมัย
รัตนโกสินทร์ตอนต้น ภาพจิตรกรรมที่แสดงเนื้อเรื่องบทพาหุงในอุโบสถวัดสามแก้ว มีเนื้อหา
ดังต่อไปนี้
1. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง คิริเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทา
นาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ “พระยามารนิรมิต
แขนพันหนึ่ง ถืออาวุธครบทุกมือ ขี่ช้างครีเมขล์ พร้อมด้วยเสนาโห่ร้องกึกก้องเข้ามาผจญ
130 เรื่องเดียวกัน.
131 เรื่องเดียวกัน.