Page 128 - kpi20858
P. 128

85






                                  การตกแต่งภายในอุโบสถวัดสามแก้วนั้น พระธรรมโกษาจารย์ (เซ่ง  อุตตโม) ได้ชักชวน
                            พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ซึ่งขณะนั้นด ารงต าแหน่งเป็นองคมนตรีในพระบาท

                            สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาวาดภาพภายในอุโบสถ การชักชวนพระยาอนุศาสน์จิตร
                            กรให้มาวาดภาพครั้งนี้  แสดงถึงจุดประสงค์ของพระธรรมโกษาจารย์ที่จะให้อุโบสถวัดสาม

                            แก้วนี้  เป็นศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความเป็นไทยสมัยใหม่อย่างแน่นอน  เพราะ
                            เทคนิคและวิธีการเขียนภาพของพระยาอนุศาสน์ที่ปรากฏในอุโบสถนั้น  เป็นการใช้เทคนิคสี

                            น ้ามันแบบตะวันตก  และรูปแบบการเขียนภาพในแนวเหมือนจริง  หรือสัจนิยม  ที่แตกต่างไป

                            จากการเขียนภาพแบบจารีต  ซึ่งคงเป็นที่ทราบดีในสมัยนั้น  แรงบันดาลใจดังกล่าวน่าจะเกิด
                            จากจิตรกรรมสมัยใหม่ ที่วาดภายในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส ซึ่งออกแบบโดยสมเด็จกรมพระ

                            ยานริศรานุวัติวงศ์ และวาดโดย คาร์โล ริโกรี (Carlo Rigoli)  ศิลปินชาวอิตาเลียน ท าให้พระ

                                                                                       135
                            ธรรมโกษาจารย์น าแนวคิดดังกล่าว มาใช้ในการออกแบบอุโบสถวัดสามแก้ว
                              อิทธิพลของการผสมผสานศิลปะแบบประเพณีนิยม  เข้ากับศิลปะแบบตะวันตกที่แพร่หลาย

                       ในขณะนั้น  ได้ส่งผลท าให้พระธรรมโกษาจารย์  ต้องการการตกแต่งอุโบสถด้วยรูปแบบที่สะท้อน

                       ความเป็นสมัยใหม่  ดังนั้นจึงเจาะจงเลือกพระยาอนุศาสน์  จิตรกร  ผู้มีแนวทางในการแสดงออก
                       แบบสัจนิยมตะวันตก  นอกจากนี้  จุมพล  เพิ่มแสงสุวรรณ  ยังได้กล่าวถึงรูปแบบที่ปรากฏในงาน

                       จิตรกรรมของพระยาอนุศาสน์ ความว่า


                                  ความน่าสนใจโดยรวมของผลงานจิตรกรรม ที่พระยาอนุศาสน์จิตรกรวาดนั้น นอกจาก
                            จะเป็นการวาดในแบบตะวันตกที่  เน้นความเหมือนจริง  (แบบสัจนิยม)มีการใช้ทัศนียภาพ

                            (Perspective) แบบตะวันตกเข้ามาช่วยในการสร้างระยะ การใช้สี และทีพู่กันในการวาดแบบ

                            อิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) แล้ว ยังปรากฏภาพที่มีความน่าสนใจอีก ได้แก่ ภาพพระ
                            โมคัลลานะ ทรมานนันโทปนันทนาคราช ซึ่งรูปนันโทปนันทนาคราชนี้ถูกวาดให้เป็นรูปมังกร

                            ตามอย่างจินตนาการของฝรั่ง

                                  การวาดภาพเช่นนี้จะปรากฏในแนวแฟนตาซี  ซึ่งน่าจะมีแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรรม

                            ของตะวันตก อีกภาพหนึ่งได้แก่ ตอนพระพุทธเจ้าทรงทรมานพวกอาฬวกยักษ์และยอมถวาย
                            พระกุมาร  โอรสของพระเจ้าอาฬวีแก่พระพุทธองค์    ถ้าสังเกตที่องค์พระกุมารนั้น  มีการเล่น

                            สายตามองมาที่ผู้ดูภาพ ซึ่งเป็นการสัมพันธ์กับผู้ดูและเป็นการตั้งใจของศิลปิน แนวความ
                                                                                       136
                            คิดในการวาดแบบนี้พบในผลงานจิตรกรรมของศิลปินชาวตะวันตกหลายชิ้น


                           135  จุมพล  เพิ่มแสงสุวรรณ, อุโบสถวัดสามแก้ว จินตภาพของศิลปกรรมไทยประยุกต์: ยุคสยามใหม่, เข้าถึง
                       เมื่อ 23 กรกฎาคม 2562 เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/art/article_26286
                           136  เรื่องเดียวกัน.
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133