Page 117 - kpi20858
P. 117

74






                       รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากคติพราหมณ์-ฮินดูอย่างมาก ดังปรากฏ
                       ค าสัมภาษณ์ของ  คมกฤช  อุ่ยเต็กเค่ง  อาจารย์ภาควิชาปรัชญา  คณะอักษรศาสตร์  มหาวิทยาลัย

                       ศิลปากร กล่าวถึงความว่า


                                  ถ้าจะถามว่า  คนไทยรู้จักศาสนาฮินดูจริงๆ  หรือไม่  ผมไม่แน่ใจ  จนกระทั่งหลังสมัย
                            รัชกาลที่ 6 เราถึงจะเริ่มรู้จักฮินดูในแบบที่อินเดียเป็น รัชกาลที่ 6 เป็นเจ้าฟ้ารุ่นแรกที่ไปเรียน

                            ในโลกตะวันตก  ประจวบกับสมัยนั้นโลกตะวันตกก าลังสนใจภารตวิทยา  เกิดสถาบันบูรพา
                            ทิศคดีศึกษา  เกิดความสนใจในวรรณกรรมและนิพนธ์ของฮินดู  ผมเข้าใจว่า  รัชกาลที่  6

                            ศึกษาเรื่องเหล่านี้มาจากโลกตะวันตก  เมื่อกลับมาก็มีพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับอินเดียจ านวน

                            มาก ซึ่งแตกต่างจากต านานที่เรารู้จัก
                                                          115
                              ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับอิทธิพลจากคติ

                       พราหมณ์-ฮินดู เช่น บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ และลิลิตนารายณ์สิบปาง เป็นต้น ด้านรูปแบบ ตัวภาพ
                       นั้นได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก มีการแสดงกายวิภาค กล้ามเนื้อ และแสงเงาอย่างมีปริมาตร

                       ทัศนียภาพแสดงระยะใกล้ไกลในแบบเหมือนจริง  อันเป็นอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกที่ได้รับความ

                       นิยมในหมู่ช่างสยามขณะนั้น


                            จิตรกรรมในพระอุโบสถแห่งนี้ สร้างขึ้นโดย มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ช่างเขียน
                       ฝีมือเอกแห่งกรมช่างสิบหมู่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนช่างเขียน

                       คนส าคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  มหาเสวกตรี  พระยาอนุศาสน์  จิตรกร

                       นามเดิมชื่อ  “จันทร์”  ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุล  ”จิตรกร”  จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ

                       เกล้าเจ้าอยุ่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานให้ เมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ.2456 (ภาพที่ 4)
                       ความว่า


                                  ถึงพระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์)

                                  นามสกุลที่เจ้ามาขอนั้น  ที่ได้ไตร่ตรองดูแล้ว  เห็นว่าในสกุลของเจ้า  ตัวเจ้าเองก็เปน

                            คนแรกที่ได้รับราชการในต าแหน่งสูง และเจ้าเปนผู้ที่ได้ดีเพราะเปนช่างเขียน

                                  เพราะฉนั้นขอให้นามสกุลของเจ้าว่า  “จิตรกร”  ขอให้สกุลจิตรกรเจริญรุ่งเรือง  และ
                            มั่นคงอยู่ในกรุงสยามชั่วกัลปาวสาน

                                                                                         116
                                                                                วชิราวุธ ปร .

                           115  พสิษฐ์ ไชยวัฒน์ “สัมภาษณ์ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง: ฮินดู...อีกมุมที่คนไทยไม่รู้จัก,” เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2562,
                       เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2018/11/79451
                           116  ป้ายนามสกุลพระราชทาน สมบัติของ จีระ จิตรกร บุตรชายพระยาอนุศาสน์ จิตรกร
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122