Page 116 - kpi20858
P. 116
73
อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพรคือหลวงศรีสุพรรณดิฐ (เผียน ชุมวรฐายี )และชาวบ้านผู้ศรัทธา ช่วยกัน
ถางป่าสร้างที่พัก และศาลาธรรมสภาถาวรขึ้นในปี พ.ศ.2468 เพื่อใช้เป็นที่พักระหว่างทางในการ
เดินทางมาตรวจตราคณะสงฆ์ในภาคใต้ จากนั้นจึงมีการสร้างอุโบสถวัดสามแก้วขึ้น
ด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมมีความแตกต่างไปจากอาคารทางพุทธศาสนาทั่วไป อาจเป็น
เพราะอยู่ในยุคของความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ พระธรรมโกษาจารย์ในขณะนั้นยังได้ด ารงต าแหน่ง
เจ้าอาวาส ณ วัดราชาธิวาส ซึ่งมีพระอุโบสถเป็นอาคารแบบผสมผสานความเป็นสมัยใหม่ จึงอาจ
เกิดแรงบันดาลใจให้น าแนวคิดในการสร้างสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่แบบผสมผสาน เข้ามาใช้ใน
การสร้างพระอุโบสถวัดสามแก้ว โดยสันนิษฐานว่าอาจเป็นฝีมือการออกแบบของพระยาจินดา
114
รังสรรค์ หรือช่างในกรมศิลปากร
ภาพที่ 3 ภายในพระอุโบสถวัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร
ที่มาภาพ: ผู้วิจัย
ความพิเศษของสถานที่แห่งนี้คือ ภายในพระอุโบสถวัดสามแก้ว (ภาพที่ 3) มีภาพจิตรกรรม
ฝาผนังที่น าเสนอเรื่องราว และรูปแบบที่แตกต่างไปจากจิตรกรรมฝาผนังแห่งอื่น กล่าวคือ มีการ
น าเสนอภาพจิตรกรรมแสดงพุทธประวัติ และเทพเจ้าตามความเชื่อคติพราหมณ์รวมอยู่อยู่ในสถานที่
แห่งเดียวกัน แท้จริงแล้วนั้น คติพราหมณ์มีความผูกพันแนบแน่นกับสังคงสยามมาแต่ครั้งโบราณ
กาล โดยพบเห็นได้จากพระราชพิธีต่างๆในราชส านัก ตลอดจน เนื้อหาในงานจิตรกรรม การสร้าง
เทวรูป หรือแม้แต่งานประพันธ์ด้านวรรณกรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
114 จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ, อุโบสถวัดสามแก้ว จินตภาพของศิลปกรรมไทยประยุกต์ : ยุคสยามใหม่, เข้าถึง
เมื่อ 23 กรกฎาคม 2562 เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/art/article_26286