Page 114 - kpi20858
P. 114
71
แปลงแห่งยุคสมัย ถือเป็นบันทึกส าคัญทางจิตรกรรมที่ถูกตรึงไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของชาติไทย
จากความส าคัญนี้ ท าให้จิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณะซ่อมสืบ
ต่อจากรัชกาลที่ 7 มาจนถึงคราวฉลองกรุงเทพฯครบ 200 ปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิ
พลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จึงมีการซ่อมภาพอีก โดยในครั้งนี้มีการเขียนภาพ
ใหม่บางผนัง เนื่องจากเกิดช ารุดเสียหายอย่างมาก ดังที่ จักรพันธุ์ โปษยกฤษ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
ข้าพเจ้าได้พบกับคุณลุงสง่าในตอนนี้ เนื่องจากห้องที่เขียนอยู่ติดกัน คือต้องเขียน
ห้อง 159 และ 160 ส่วนคุณลุงเขียนห้อง 161 ...ห้องที่ข้าพเจ้าและคุณลุงสง่าเขียนเป็นตอน
ปลายของเรื่องรามเกียรติ์แล้ว คือข้าพเจ้าเขียนตอนนางสีดาถูกขับ พระอินทร์แปลงเป็น
ควายมาน านางสีดาไปอยู่กับพระฤาษี กระทั่งนางสีดาประสูติพระบุตร ส่วนคุณลุงเขียน
ตอนปล่อยม้าอุปการอันเป็นตอนต่อจากพระบุตรพระลบประลองศร
การซ่อมภาพเขียนแต่ละห้องมีวิธีการไม่เหมือนกัน ห้องของคุณลุงสง่าและของ
ข้าพเจ้าเป็นห้องที่ช ารุดทรุดโทรมมาก ภาพเก่ากะเทาะหลุดหมด หาเค้าเดิมไม่พบจึงต้อง
107
เขียนขึ้นใหม่ จัดองค์ประกอบและตัวภาพใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่เขียนซ่อม
จากข้อความข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร มีทั้งแนวทางการซ่อมภาพ และการเขียนภาพขึ้นใหม่ในบางผนังที่เกิด
ช ารุดเสียหายอย่างหนัก สง่า มะยุระ ซึ่งเป็นช่างเขียนที่ฝากฝีมือไว้เมื่อครั้งรัชกาลที่ 7 ได้มีโอกาสมา
เขียนภาพอีกครั้งในรัชกาลที่ 9 ส่วนจักรพันธุ์ โปษยกฤษ ได้เป็นช่างเขียนรุ่นแรก ที่ผ่านการทดสอบ
ฝีมือ ได้รับคัดเลือกให้เข้าซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มี
การซ่อมภาพเขียนนี้อีกครั้ง โดยมีประทีป สว่างสุข หนึ่งในจิตรกร 9 คน ที่ผ่านการคัดเลือกให้รับ
หน้าที่ซ่อมภาพเขียน ในครั้งที่ 2 ซึ่งประทีปกล่าวถึงแนวทางการซ่อมในครั้งนั้นว่า เป็นการซ่อมสีซึ่ง
กะเทาะหลุดร่อนออก โดยแต้มสีใกล้เคียงกลับไปยังพื้นที่ซึ่งสีหลุดร่อนออก ทว่าเมื่อดูแล้วสามารถรู้
ได้ว่าเป็นบริเวณที่ถูกซ่อมสีในสมัยหลัง ดังนั้น การจัดวางองค์ประกอบ รูปทรงต่างๆ จึงมีความ
108
เป็นไปได้ว่าเป็นองค์ประกอบดั้งเดิมเมื่อครั้งสร้างในรัชกาลที่ 7
107 จักรพันธุ์ โปษยกฤษ, คิดถึงครู (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ, 2551), 302-303.
108 ประทีป สว่างสุข, สัมภาษณ์, ศิลปิน และอาจารย์คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 14 กุมภาพัน์ 2562.