Page 115 - kpi20858
P. 115
72
4.1.1.2 จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร
วัดสามแก้ว ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จ
109
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างเมื่อปี พ.ศ.2469 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2469
ซึ่งบทความของ จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ ได้กล่าวถึงการสร้างอุโบสถหลังนี้ ความว่า
การสร้างอุโบสถแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองฝ่ายรัฐ และศาสนจักร
โดยได้รับการสนับสนุนจากข้าราชการต่างๆ เช่น แพนกมหาดไทย แพนกคลัง แพนกอัยการ
ข้าราชการอ าเภอท่าตะเภา หม่อมใหญ่เทวกุล ตลอดจนพ่อค้าประชาชนต่างๆในพื้นที่ ดังพบ
110
รายชื่อของผู้บริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างใต้ภาพจิตรกรรมในอุโบสถจ านวนมาก
ที่ตั้งวัดสามแก้วแห่งนี้ ในอดีตได้ขุดพบลูกปัดสีต่างๆ และกลองมโหระทึก ลักษณะคล้าย
กับที่พบบริเวณอ าเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมศิลปากรได้ประมาณอายุว่ามีอายุประมาณ
1700-2000 ปี จึงสันนิษฐานว่าบริเวณเนินเขาที่ตั้งวัดสามแก้วนี้ อาจเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีอายุ
เก่าแก่แห่งหนึ่ง วัดสามแก้วเป็นวัดสายธรรมยุติกนิกาย ชื่อ “วัดสามแก้ว” เกิดจากค าบอกเล่าที่
111
เล่าสืบต่อมาว่า เมื่อครั้งอดีตก่อนมีการสร้างวัด บริเวณภูเขาแห่งนี้ในเวลาค ่าคืนมักปรากฏดวงแก้ว
มีรัศมีสีนวล 3 ดวง ลอยขึ้นจากยอดเขาแล้วลับหายไปบนฟากฟ้า ปรากฏการณ์เช่นนี้สามารถพบ
เห็นได้จนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า ดวงแก้วทั้งสามนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพระ
112
รัตนตรัย หรือแก้ววิเศษสามประการ ดังนั้นจึงมีการเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดสามแก้ว”
แรกเริ่มก่อนที่จะมีการสร้างอุโบสถนั้น พระธรรมวโรดมซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระธรรมโกษา
จารย์ (เซ่ง อุตตโม) ด ารงต าแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฑลภูเก็ตและนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับนาย
113
109 ฐานข้อมูลการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวส าหรับนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน,
วัดสามแก้ว, เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.me-fi.com/tourismdb/Seniortouristsust
/data_detail.php?cateLv=2&cateID=39&subid=863&dataID=7735
110 จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ, อุโบสถวัดสามแก้ว จินตภาพของศิลปกรรมไทยประยุกต์ : ยุคสยามใหม่, เข้าถึง
เมื่อ 23 กรกฎาคม 2562 เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/art/article_26286
111 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ป้ายหน้าพระอุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร.
112 เรื่องเดียวกัน.
113 พระธรรมโกษาจารย์ ต่อมาคือ พระธรรมวโรดม มีนามเดิมว่า เซ่ง ให้ความส าคัญกับการก่อสร้างและซ่อมแซม
ถาวรวัตถุอย่างมาก ท่านได้ร่วมก่อสร้างวัดหลายแห่งในภาคใต้ เช่น วัดสามแก้วและวัดเสกขาราม จังหวัดชุมพร วัดเขา
ทอง จังหวัดพัทลุง วัดโภคาจุฑามาตย์ จังหวัดกระบี่ วัดนิกรชนาราม จังหวัดปัตตานี เป็นต้น ในปี พ.ศ.2471 เป็นเจ้าคณะ
มณฑลนครศรีธรรมราช อ้างจาก พระสังฆาธิการ, พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม ป.ธ.๕) เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562
เข้าถึงได้จาก https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=14633