Page 213 - kpi20761
P. 213
212
ความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกของพลังแรงงานและการเมือง
ท�าให้ช่วง พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๑๖ กฎหมายแรงงานถูกจ�ากัดอยู่ภายใน
กรอบข้อก�าหนดที่รัฐบาลเป็นผู้ก�าหนด แล้วก็มาถึงช่วงเวลาที่แรงกดดัน
กลายเป็นแรงปะทุให้ผู้ใช้แรงงานออกมาเรียกร้องสิทธิและความเป็น
ประชาธิปไตยกลับคืนมา จนกระทั่งปี ๒๕๑๘ ได้มีการประกาศใช้กฎหมาย
แรงงานสัมพันธ์ซึ่งถือเป็นกฎหมายแรงงานที่มีการสอดแทรกแนวคิด
เสรีประชาธิปไตยอยู่พอสมควร หลังจากนั้นกฎหมายแรงงานเรื่องต่างๆ
ก็ได้รับพัฒนาและประกาศใช้ในรูปของพระราชบัญญัติเรื่อยมาอย่าง
ต่อเนื่องจนท�าให้กฎหมายแรงงานไทยมีความครบถ้วนในประเด็นต่างๆ
ทั้งที่เป็นเรื่องทั่วไปและเรื่องเฉพาะ
สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตลาดการค้าเสรี
การแข่งขันที่เป็นธรรม และบริบทอื่นๆ ทั้งในและนอกประเทศท�าให้
กฎหมายแรงงานต้องได้รับการพัฒนาแก้ไขให้สอดคล้อง ซึ่งการพัฒนา
ดังกล่าวประเทศไทยมักยึดถือหลักการและแนวคิดที่ปรากฏในเนื้อหา
ของอนุสัญญาฉบับต่างๆ ที่ออกโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
เป็นหลัก แต่อาจน�ามาปรับใช้โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศ
ที่พัฒนาแล้วและประเทศเพื่อนบ้านที่มีบริบททางสังคมและเศรษฐกิจ
ใกล้เคียงกัน กระนั้นด้วยข้อจ�ากัดทางการเมืองท�าให้กฎหมายแรงงาน
ในบางเรื่อง ได้แก่ การแรงงานสัมพันธ์ยังไม่อาจที่จะแก้ไขให้สอดคล้อง
กับหลักการสากลได้ ซึ่งก็กลายเป็นปัญหาที่ถือว่าส�าคัญที่สุดของ
การแรงงานไทยในปัจจุบัน เพราะปัญหาข้อนี้มิได้เกี่ยวเนื่องแต่เฉพาะ
สิทธิของผู้ใช้แรงานภายในประเทศแต่ยังเกี่ยวพันถึงพันธกรณีระหว่าง
ประเทศที่ไทยพึงต้องปฏิบัติต่อ อันท�าให้สรุปได้ว่าปัญหาส่วนนี้เป็น
เรื่องที่ประเทศไทยอาจต้องคิดให้รอบคอบ พิจารณาประกอบบริบท
ที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการพัฒนากฎหมายแรงงานอย่างแท้จริง
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 212 13/2/2562 16:37:44