Page 214 - kpi20761
P. 214
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 213
ตลาดแรงงานที่มีพลวัตร ท�าให้เกิดข้อค�าถามเกี่ยวกับฝีมือ
แรงงานในประเทศไทย การท�างานของคนต่างด้าว และประชากรผู้สูงอายุ
ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งค�าถามทั้งสามข้อนี้ล้วนแล้วแต่เป็นค�าถามที่เกิดจาก
บริบทของสังคมในเรื่องประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการก�าหนดกฎเกณฑ์
เกี่ยวกับแรงงาน การแก้ไขปัญหาจึงไม่อาจใช้แนวคิดในกฎหมายแรงงาน
เพียงโสตเดียวได้ แต่จะต้องใช้ทั้งนโยบายและหลักการของศาสตร์ต่างๆ
เช่น สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ มาร่วมบูรณาการประกอบกัน ซึ่งท�าให้
เห็นได้ว่าปัญหาแรงงานกลุ่มนี้เป็นปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ช่วงเวลา
ไม่ใช่ปัญหาที่เป็นพื้นฐานเหมือนกับการรับรองเสรีภาพในการรวมกลุ่ม
และการเจรจาต่อรองดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ดังนี้การแก้ไขปัญหา
จึงเป็นไปในลักษณะของการปฏิรูปหรือหาทางแก้ที่รวดเร็วทันต่อปัญหา
ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การออกกฎหมายอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด
เพราะกฎหมายที่มีอยู่ก็สามารถปรับใช้บังคับได้ หากแต่การปรับใช้อาจต้อง
เผชิญกับอุปสรรคปัญหาบางเรื่อง ด้วยเหตุนี้การหาแนวทางหรือมาตรการ
เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาจึงอาจเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่า ตัวอย่างเช่น
การรณรงค์หรือการใช้มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วม
ในการแก้ปัญหาด้วยเหตุว่าการเข้าร่วมในลักษณะนี้จะเกิดประโยชน์ต่อ
การประกอบกิจการของตนด้วย
ปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงาน ถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลทุกสมัย
ให้ความส�าคัญดังจะเห็นได้จากการเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต�่า
อยู่ตลอดทุกปี แต่การขึ้นค่าจ้างย่อมส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม
กล่าวคือ การปรับตัวของราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นตามมา การจัด
สวัสดิการที่ดีอาจเป็นกุญแจดอกส�าคัญในการแก้ไขปัญหาเรียกร้อง
การขึ้นค่าจ้าง แต่ด้วยหลักการทางแรงงานที่ยอมรับถึงความผสมผสาน
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 213 13/2/2562 16:37:45