Page 215 - kpi20761
P. 215

214


                 ระหว่างความเป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนท�าให้รูปแบบ
                 สวัสดิการจะออกมาอย่างไรนั้นก็จ�าเป็นต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของ

                 ฝ่ายลูกจ้างและความสามารถของฝ่ายนายจ้างที่สมดุลกัน รัฐอาจช่วย
                 ในการจัดหาสวัสดิการให้กับผู้ใช้แรงงานได้โดยผ่านการตั้งกองทุนหรือ
                 กิจการที่ท�าให้ผู้ใช้แรงงานในทุกสาขาอาชีพมีเงินเพื่อเลี้ยงชีพแม้กระทั่ง

                 ในช่วงเวลาที่ตนไม่สามารถท�าการงานได้ ดังปรากฏว่า มีการจัดตั้งกองทุน
                 ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้มีการออมเงินไว้ใช้และรัฐช่วย

                 ดูแลผลประโยชน์ไว้ให้ แต่ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นสูงสุดก็ต่อเมื่อเงิน
                 ที่ผู้ใช้แรงงานได้รับกลับนั้นเพียงพอต่อการยังชีพในช่วงเวลาที่เขาไม่มี
                 ความสามารถในการประกอบอาชีพได้





                         สรุปและเสนอแนะ การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมาย

                 แรงงานไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและแนวทางในการปฏิรูป
                 ประเทศจึงอยู่บนหลักการ พื้นฐานข้อเท็จจริง และวิถีทางที่อาจน�าไป
                 เป็นแนวปฏิบัติ โดยสรุปได้ใน ๔ ประเด็น คือ ประเด็นว่าด้วยแนวคิดและ

                 พื้นฐานข้อเท็จจริงของบทบัญญัติแรงงานไทย ประเด็นว่าด้วยการปฏิรูป
                 (ระยะสั้น) และพัฒนา (ระยะยาว) ของกฎหมายแรงงานไทย ประเด็นว่า

                 ด้วยแนวทางเพื่อการแก้ไขข้อกฎหมายทั้งในประเด็นที่จ�าเป็นต้องปฏิบัติและ
                 ประเด็นที่ควรปฏิบัติ และประเด็นว่าด้วยมาตรการที่ควรน�ามาใช้ควบคู่กับ





                         ประเด็นแรก แนวคิดและพื้นฐานข้อเท็จจริง บทบัญญัติ
                 กฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานของไทยมีความสอดคล้องกับ

                 เนื้อหาของอนุสัญญาแกนที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศก�าหนด
                 ขึ้นแล้วเป็นจ�านวน ๕ ฉบับ จากอนุสัญญาแกนทั้งหมด ๘ ฉบับ







         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   214                                    13/2/2562   16:37:45
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220