Page 216 - kpi20761
P. 216

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  215


                    โดยกฎหมายส่วนนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแรงงานบังคับ การใช้แรงงานเด็ก และ
                    การไม่เลือกปฏิบัติระหว่างแรงงานชายและแรงงานหญิง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น

                    บทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองแรงงานทั้งสิ้น นอกจากนี้แล้ว
                    เป็นที่น่าสังเกตว่าการที่บทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยมีเนื้อหาสอดคล้อง
                    กับหลักการในอนุสัญญาทั้ง ๕ ฉบับดังกล่าวก็เนื่องจากเป็นอนุสัญญา

                    ที่ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันเป็นที่เรียบร้อยอันมีผลให้ประเทศไทย
                    ต้องท�าการแก้ไขทั้งบทกฎหมายและแนวปฏิบัติในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                    ให้มีความสอดคล้อง กระนั้น อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ยังมีอนุสัญญาอีก
                    ๑ ฉบับที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไปเมื่อกลางปี ๒๕๖๐ ได้แก่ อนุสัญญา
                    ฉบับที่ ๑๑๑ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการไม่เลือกปฏิบัติ ท�าให้กลายเป็นประเด็น

                    พิจารณาถึงการพัฒนาบทกฎหมายไทยที่ต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
                    โดยไม่อาจปฏิเสธได้ ก็คือ ความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง

                    แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ยังมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติ
                    ในอนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑


                            อย่างไรก็ตาม อาจตั้งเป็นข้อทิ้งทายถึงความท้าทายที่รัฐบาลไทย
                    ในฐานะหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
                    ถึงความพร้อมและเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติ

                    ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวด้วยการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นพื้นฐานในการให้สัตยาบัน
                    ในอนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ซึ่งเป็น ๒ ใน ๘ อนุสัญญาแกน

                    ที่ประเทศไทยได้เพียงแต่แสดงความพยายามแต่ยังคงสงวนท่าทีในการให้
                    สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวไว้ ด้วยสถานะการณ์ทางการเมือง สังคม
                    และเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังเป็นอุปสรรคส�าคัญ ในทางกลับกัน

                    หลักการทางแรงงานกลับมองว่าการให้สัตยาบันในอนุสัญญาทั้งสองฉบับนี้
                    จะเป็นเครื่องมือในการบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องแก้ไขกฎหมายและ

                    แนวปฏิบัติภายในให้มีกระบวนการในการเจรจาต่อรองทางด้านแรงงาน







         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   215                                    13/2/2562   16:37:45
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221