Page 217 - kpi20761
P. 217
216
ที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานส�าคัญในการพัฒนากฎเกณฑ์ทางการแรงงาน
ที่ท�าให้ผู้ใช้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง อีกทั้งการให้สัตยาบัน
ในอนุสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวยังเป็นกลไกเสริมที่ท�าให้บทกฎหมาย
ในส่วนการแรงงานสัมพันธ์ต้องแก้ไขไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติอันเป็น
ส่วนเสริมให้บทกฎหมายไทยเกิดความสอดคล้องกับเนื้อหาแห่งอนุสัญญา
ฉบับที่ ๑๑๑ ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว และอยู่ในช่วงของ
การแก้ไขกฎหมายและแนวปฏิบัติให้สอดคล้องอีกด้วย
ประเด็นที่สอง การปฏิรูป (ระยะสั้น) และการพัฒนา
(ระยะยาว) ของกฎหมายแรงงานไทย แนวการวิเคราะห์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้
ท�าให้เห็นได้ว่าประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลควรให้ความสนใจเพื่อการพัฒนา
กฎหมายแรงงานจึงอยู่ที่เรื่องการคุ้มครองแรงงานเป็นส่วนใหญ่ ส่วนในแง่
ของสวัสดิการแรงงาน (ข้อค�านึงในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของลูกจ้าง
ผู้ใช้แรงงาน) การพัฒนาฝีมือแรงงาน และ การบริหารจัดการแรงงาน
(แรงงานต่างด้าวและผู้สูงอายุ) นั้น อาจเป็นข้อพิจารณารองที่น่าจะ
เกิดขึ้นหลังจากพื้นฐานการใช้แรงงานทั้ง ๘ ข้อ ตามอนุสัญญาแกน
ได้รับการยอมรับมาปฏิบัติอย่าครบถ้วนแล้ว แต่ก็มิได้หมายความว่า
การจะแก้ไขปัญหาแรงงานใน ๓ ประเด็นดังกล่าวด้วยการปรับแก้บทกฎหมาย
และแนวปฏิบัติทางแรงงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นเรื่องผิด หากแต่การพัฒนา
กฎหมายในส่วนนี้จะอยู่ในรูปของการปฏิรูปที่เป็นผลมาจากการพัฒนา
กฎหมายบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับช่วงเวลาหนึ่งๆ เป็นการ
เฉพาะหรือในลักษณะทันด่วน ซึ่งการด�าเนินงานในส่วนนี้ไม่ควรท�าให้
งานหลักอันได้แก่การแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับเนื้อหาของอนุสัญญา
ฉบับที่ ๑๑๑ และการด�าเนินการเพื่อความพร้อมในการให้สัตยาบัน
ในอนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ต้องเสียไป
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 216 13/2/2562 16:37:45