Page 67 - kpi20542
P. 67

3. ผลต่องานการสอน ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียนจะช่วยครูผู้สอนในการ
                      ติดตามงานจากนักเรียน ทำให้ปัญหาการขาดส่งงานลดน้อยลงอย่างมาก นอกจากนี้ ยังช่วย

                      ควบคุมชั้นเรียนและดูแลให้นักเรียนทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จหรือช่วยครูที่เข้าสอนแทน
                      ควบคุมชั้นเรียนให้เป็นปกติ


                            4.  ผลต่องานกิจการนักเรียน ในกรณีที่นักเรียนประสบปัญหาบางอย่าง ผู้สนับสนุน
                      การเรียนรู้จะเป็นผู้ทราบข้อมูลเบื้องต้น เช่น การมาสาย การขาดเรียน การหนีเรียน จากนั้น
                      จะดำเนินการประสานกับฝ่ายกิจการนักเรียนในการติดตาม ปรับแก้ และหาสาเหตุของพฤติกรรม

                      ของนักเรียน ทำให้สามารถลดปัญหาของนักเรียนลงได้มาก                                      “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ

                            5. ผลต่อผู้ปกครองนักเรียน ผู้สนับสนุนการเรียนรู้จะประสานกับผู้ปกครองนักเรียน

                      ในทุกด้าน เช่น การซักถามกรณีนักเรียนขาดเรียน การรายงานความต้องการ ความถนัด และ
                      ความสนใจของนักเรียนให้ผู้ปกครองได้รับทราบ สามารถเป็นพี่ เป็นเพื่อน ตลอดจนเป็นที่ปรึกษา

                      ให้นักเรียนที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ หรือมาอยู่หอพัก ช่วยให้ผู้ปกครองคลายความกังวลได้

                            การนำระบบผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียนมาใช้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 พบว่า
                      จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมดูแล

                      ขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ ของนักเรียน เช่น ปัญหาความก้าวร้าวต่อครูบาอาจารย์ ปัญหา
                      ความขัดแย้งกับเพื่อนนักเรียน ปัญหาความไม่เข้าใจต่อครอบครัว ปัญหาการมาเรียนสาย ปัญหา
                      การเรียนไม่ทันเพื่อนร่วมชั้น และปัญหาอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน

                      สามารถดูแล ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่นักเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความไว้วางใจและเชื่อใจ
                      ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน กล้าที่จะปรึกษาหรือบอกเล่าเรื่องราวปัญหาต่างๆ ทำให้

                      สามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ได้ตรงจุดมากขึ้น และทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น
                      ในการมาโรงเรียนมากขึ้น สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีขึ้น


                      ปัญหาและอุปสรรค                                                                        กรณีศึกษา: ด้านการศึกษา

                            1. การจ้างผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน (LS) ที่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นมาจาก
                      งบประมาณการจ้างบุคลากรปกติ จำเป็นที่จะต้องหารายได้เพิ่มเติม ซึ่งทางเทศบาลได้เก็บจาก
                      ค่าบำรุงการศึกษาของผู้ปกครอง และบริหารเงินในลักษณะของกองทุน เพื่อความสะดวกในการใช้

                      งบประมาณดังกล่าว ซึ่งในส่วนของการเก็บค่าบำรุงการศึกษาเพิ่มนั้นทางโรงเรียนจะต้องทำ
                      ความเข้าใจต่อผู้ปกครองถึงเหตุผล และความจำเป็นในการเก็บเงินเพิ่มเติม ทำให้ผู้ปกครองเห็นถึง

                      ประโยชน์ที่เด็กนักเรียน รวมถึงผู้ปกครองเองจะได้รับ







                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า    1
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72