Page 66 - kpi20542
P. 66

จากการประเมินเด็กนักเรียนผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน แบ่งกลุ่ม
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  เด็กนักเรียนออกเป็นระดับ A, B และ C จากนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไปจนถึงต้องได้รับ

                  การดูแล แก้ไขปัญหา เพราะวัยเรียนถือเป็นวัยที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดอนาคตของนักเรียน
                  ดังนั้น ผู้สนับสนุนจึงต้องค้นหาเด็กในเกณฑ์ C ให้พบแต่โดยเร็วเพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ให้เด็ก
                  มีระดับที่ดีขึ้นจาก C เป็น B และจาก B เป็น A ตามลำดับ































                  ผลการดำเนินโครงการ

                        ผลจากการที่เทศบาลนครเชียงรายและโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย ได้จัดให้มี

            กรณีศึกษา: ด้านการศึกษา   นั้น ก่อให้เกิดผลในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง ในหลายๆ ด้าน ดังนี้
                  ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน (Learning Support Assistant : LS) ประจำทุกห้องเรียน


                        1. ผลต่องานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ได้มีการจัดทำเอกสารสำรวจความต้องการของ

                  นักเรียนเป็นรายบุคคลในชั้นเรียน เช่น การจัดเก็บข้อมูลประวัติของนักเรียนในทุกๆ ด้าน ทั้งข้อมูล
                  ผู้ปกครอง สถานะทางบ้าน สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว

                  ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนในการวางแผนการดำเนินงาน
                  การปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้เรียน ทั้งระดับห้องเรียน และรายบุคคล


                        2. ผลต่องานแนะแนว โรงเรียนมีข้อมูลความถนัดและรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน
                  เป็นรายบุคคล ทำให้งานแนะแนวสามารถวางแผนการแนะแนวนักเรียนในการเลือกวิชาเรียน เช่น
                  วิชาเลือกเสรี ชุมนุม ได้ตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ตลอดจนสามารถวางแผน

                  การแนะแนวการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพได้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน



                  0   สถาบันพระปกเกล้า
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71