Page 69 - kpi20542
P. 69
ความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน มีการ
จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ และให้มีส่วนในการพัฒนาโรงเรียน คุณภาพการศึกษา เปรียบเสมือน
เป็นครูคนหนึ่ง
3. ในส่วนผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน (LS) จะต้องมีจิตใจที่อุทิศให้กับการปฏิบัติ
หน้าที่ทั้งต่อนักเรียนของตน ครูที่ปรึกษา ผู้ปกครองและฝ่ายบริหารโรงเรียน ซึ่งงานของ
ผู้สนับสนุนนั้นไม่ได้จำกัดแค่เวลา 07.30 – 16.30 น. เท่านั้น แต่หน้าที่ความรับผิดชอบนั้น
ย่อมต้องมีนอกเวลาด้วย โดยเฉพาะต่อเด็กนักเรียนในความดูแลของตน เช่นกรณี นักเรียน
กลับบ้านดึก และไม่รับโทรศัพท์ผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองไม่สบายใจ และโทรมาสอบถามและ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ขอความช่วยเหลือกับผู้สนับสนุน ทำให้ผู้สนับสนุนต้องปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาเพื่อช่วยเหลือทั้ง
ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน ทำหน้าที่การโทรพูดคุยกับนักเรียนซึ่งนักเรียนมักจะให้ความเชื่อใจ
ต่อผู้สนับสนุนเนื่องจากอยู่ในวัยที่ใกล้เคียงกัน เข้าใจกันมากกว่าผู้ปกครอง และสามารถพูด
โน้มน้าว ช่วยเหลือให้นักเรียนกลับบ้านยอมกลับบ้าน เป็นต้น
4. การที่โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงรายมีวัฒนธรรมของสถานศึกษาที่ดี รวมถึง
มีกระบวนการกล่อมเกลาจิตใจนักเรียนอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ แม้ว่านักเรียนจะมีภูมิหลัง และ
ได้รับการอบรมมาแตกต่างกัน แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงรายแล้ว ทำให้เด็ก
ต้องปฏิบัติตามแบบแผนความประพฤติอันดีของโรงเรียนที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นการเดินเป็นแถว
ตามที่ได้กำหนดไว้ การทำความเคารพต่อผู้ใหญ่ แม้จะไม่ใช่ครูหรือผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำ
ห้องเรียน (LS) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการจิตศึกษาที่เป็นกิจกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อ
กล่อมเกลาจิตใจนักเรียน ทำให้เกิดความกล้าที่จะแสดงออก รับฟัง และเข้าใจผู้อื่น
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้ทำอย่างต่อเนื่องในทุกสายชั้น ด้วยพฤติกรรมเด็กที่ถูกพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่องนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำงานของผู้สนับสนุนนั้นประสบความสำเร็จได้
การต่อยอดในอนาคต กรณีศึกษา: ด้านการศึกษา
จากการดำเนินงานภายในโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงรายเพียงแห่งเดียว ในปี พ.ศ. 2559
เทศบาลนคร ขยายผลการดำเนินงานสู่เครือข่ายภายนอก จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ สถานพินิจเด็ก
และเยาวชนจังหวัดเชียงราย มูลนิธิเพื่อชีวิตและพัฒนาสังคมจังหวัดเชียงราย โรงเรียนเทศบาล 7
ฝั่งหมิ่น และโรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ โดยสถานพินิจเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงรายมีเด็ก
และเยาวชนที่กระทำผิดในคดีที่แตกต่างกัน รวมถึงมีเด็ก/เยาวชนที่มีความหลากหลายทาง
ชาติพันธุ์ ทั้งม้ง เย้า อาข่า มูเซอ และไทย การอยู่ร่วมกันภายในสถานพินิจมักเกิดปัญหา
ความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกัน ในส่วนของมูลนิธิเพื่อชีวิตและพัฒนาสังคมจังหวัดเชียงราย
เด็กและเยาวชนมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ส่งผลให้เด็กเกิดการแบ่งแยกกันเป็นกลุ่มจาก
สถาบันพระปกเกล้า