Page 74 - kpi20542
P. 74

โดยเครือข่าย ดังที่ได้ระบุไว้ในวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานว่า “สังคมก้าวหน้า พัฒนาบริการ
            ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                  สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง โครงสร้างพื้นฐานดี เน้นการมีส่วนร่วม

                  พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น” จากคำที่ขีดเส้นใต้นี้เองได้นำเทศบาลตำบลป่าแดดก้าวไปสู่
                  การพัฒนาที่เน้นการขับเคลื่อนงานโดยเครือข่าย ทั้งนี้ เทศบาลตำบลป่าแดดได้ให้ความสำคัญกับ
                  การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ถึงกับระบุไว้เป็น 1 ใน 6 พันธกิจที่เทศบาลฯ จะต้อง

                  ดำเนินไปให้ถึง คือ “พันธกิจที่ 6 การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วนในตำบลและ
                  องค์กรภายนอก” โดยเทศบาลตำบลป่าแดดจะมุ่งเน้นในการส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กร

                  ประชาชนในชุมชน องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชนภายในตำบลมีส่วนร่วมในการบูรณาการ
                  การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาตำบลร่วมกัน และร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการจัดทำโครงการ
                  กิจกรรมต่าง ๆ และสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้เทศบาลตำบลป่าแดดสามารถดำเนินโครงการได้อย่างมี

                  ประสิทธิภาพและยั่งยืนก็คือ ความตั้งใจของนายกเทศมนตรีที่ให้ความสนใจและเน้นการดูแลรักษา
                  คุณภาพชีวิตของประชาชน และสภาพแวดล้อมในพื้นที่เป็นลำดับแรก ก่อนการพัฒนาระบบ

                  โครงสร้างพื้นฐาน

                        เทศบาลตำบลป่าแดดมีต้นทุนที่สำคัญในการดำเนินโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวตำบล

                  ป่าแดด คือ การมีโรงพยาบาลรัฐที่ดำเนินการเรื่องการดูแลคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ในพื้นที่ เช่น
                  “โรงพยาบาลบ้านวังสิงห์คำ” ซึ่งเป็นเครือข่ายที่สำคัญของเทศบาลฯ โดยแต่ก่อนนั้นโรงพยาบาล
            กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
                  บ้านวังสิงห์คำเป็นเพียงสถานีอนามัยบ้านวังสิงห์คำ ก่อตั้งและเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ

                  พ.ศ. 2523 เป็นสถานที่แห่งแรกที่ให้ความสำคัญในการดำเนินงานด้านการสาธารณะสุขให้แก่
                  ประชาชนในชุมชน จึงมีความใกล้ชิดกับประชาชนเป็นอย่างมาก จนกระทั่ง พ.ศ. 2554 สถานี

                  อนามัยบ้านวังสิงห์คำได้ยกฐานะเป็น “โรงพยาบาลบ้านวังสิงห์คำ” ทำให้โรงพยาบาลฯ สามารถ
                  ใช้ศักยภาพในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลดูแลประชาชนได้อย่างเต็มที่


                        สำหรับการดูแลแม่และเด็กนั้น ประชาชนในพื้นที่มีทางเลือกในการใช้บริการโรงพยาบาล
                  ที่หลากหลาย เนื่องจากเทศบาลตำบลป่าแดดมีสถานที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองซึ่งมีโรงพยาบาล
                  มากมาย โดยประชาชนส่วนใหญ่มักให้ความสนใจไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

                  เชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกเอกชน และเข้ามาใช้บริการ
                  โรงพยาบาลบ้างวังสิงห์คำเฉพาะในกรณีการตรวจสุขภาพเด็กและการรับวัคซีนตามวัยของเด็ก

                  เท่านั้น ดังนั้น จึงทำให้โรงพยาบาลบ้านวังสิงห์คำต้องเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานจากเชิงรับ
                  เป็นเชิงรุกมากขึ้น

                        โดยโรงพยาบาลบ้านวังสิงห์คำเริ่มออกเยี่ยมบ้านของประชาชนพร้อมกับอาสาสมัคร

                  สาธารณสุขเพื่อเยี่ยมบ้านแม่หลังคลอดในชุมชน ซึ่งในกรณีการเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของ




                      สถาบันพระปกเกล้า
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79