Page 77 - kpi20542
P. 77
เป็นเรื่องที่แปลกใหม่ของประชาชน เพราะแต่เดิมเคยให้อาหารอย่างอื่นรวมไปด้วย เป็นช่วงของ
การปรับทัศนคติที่มีมานานของปู่ ย่า ตา ยาย ของคุณแม่เด็ก จึงจำเป็นต้องเริ่มอย่างค่อยเป็น
ค่อยไป โดยการส่งเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครเข้าไปให้ความรู้ ทำความเข้าใจกับครอบครัวและคุณแม่
ในการให้นมลูก และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้นม ซึ่งสมาชิกเริ่มต้นของกลุ่ม อสม.
ในการดำเนินงานนี้มีเพียง 6 คน ซึ่งได้เข้าไปรับการอบรมที่โรงพยาบาลสายในรักแห่งครอบครัว
ในการดูแลคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด เพื่อที่จะออกมาให้ความรู้และติดตามคุณแม่
ที่กำลังตั้งครรภ์และหลังคลอดให้สามารถให้นมลูกได้ตลอดหกเดือนขึ้นไป
จากการดำเนินงานในช่วงแรกก็เริ่มเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเด็กที่ดื่มนมแม่อย่างเดียว ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
ตลอด 6 เดือน กับเด็กที่รับประทานอาหารอย่างอื่นเข้าไปด้วย เช่น พัฒนาการและภูมิคุ้มกันของ
เด็กที่ดื่มเพียงนมแม่อย่างเดียวดีกว่าเด็กที่รับประทานอย่างอื่นเข้าไปด้วย เป็นต้น ซึ่งทำให้
โครงการฯ เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับผลยืนยันจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
นเรศวรที่เข้ามาศึกษาวิจัยการให้นมแม่จากคุณแม่หลังคลอด พบว่าการให้นมแม่แก่เด็กตลอดทั้ง
6 เดือนนั้นมีประโยชน์อย่างมาก โดยปี พ.ศ. 2549 มีคุณแม่ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 12 คน
แต่สามารถให้นมลูกอย่างเดียวตลอดทั้ง 6 เดือน เพียง 5 คน ซึ่งนับว่าเป็นผลสำเร็จในช่วงเริ่มแรก
ของโครงการที่สามารถชักชวนให้ประชาชนรู้สึกสนใจและเข้าร่วมโครงการฯ
ปี พ.ศ. 2551 มีการขยายผลการดำเนินงานจากหมู่ 8 หมู่เดียว เป็นทั่วทั้ง 13 หมู่บ้านที่ให้
ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีคุณแม่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น เทศบาล
ตำบล ป่าแดดจึงมีการมอบใบประกาศเชิดชูเกียรติสำหรับคุณแม่ที่เข้าร่วมโครงการและสามารถ
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป และในปีนี้เองที่เทศบาลตำบลป่าแดดเริ่มมี
เครือข่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มมากขึ้น โดยหน่วยงานเกษตรที่บูรณาการงานด้านส่งเสริม
การเกษตรเข้ากับด้านการดูแลสุขภาพร่วมกับทีม อสม. และเจ้าหน้าที่อนามัยออกเยี่ยมบ้าน
เพื่อให้ความรู้และแจกเมล็ดพืชปลอดสารพิษ สนับสนุนให้มีการปลูกพืชผักสวนครัวกิน
ในขณะเดียวกันกระแสตอบรับในการดำเนินโครงการเริ่มดีขึ้น เทศบาลตำบลป่าแดดจึงได้แต่งตั้ง กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
คณะกรรมการในการดำเนินโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวขึ้น เกิดเป็นกลุ่มหรือชมรมสายใยรัก
แห่งครอบครัว โดยมีสมาชิกจากแกนนำ อสม. และผู้นำในตำบลร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้จัดการอบรม อสม. ที่คอยติดตาม เยี่ยม และดูแลคุณแม่ที่
ตั้งครรภ์และหลังคลอดเพิ่มมากขึ้นจนได้ อสม. ที่พร้อมในการช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่
คุณแม่ หมู่บ้านละ 5 คน ซึ่งจะเป็นกำลังหลักในการตรวจเยี่ยม ค้นหา ดูแล ชักชวนคุณแม่ให้เข้า
ร่วมโครงการ โดยที่ อสม. และคนไข้ (หรือคุณแม่) จะต้องมีการแลกเบอร์โทรศัพท์ของกันและกัน
เพื่อให้คนไข้สามารถปรึกษาได้ตลอดเวลา และเป็นผู้ที่มีข้อมูลของคนไข้ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกระทั่ง
สถาบันพระปกเกล้า 1