Page 82 - kpi20542
P. 82

ประโยชน์ในการดำเนินโครงการ ไม่เพียงแต่ให้ลูกดื่มนมแม่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ยังรวมไปถึง
            ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                  การดูแลในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น การให้ผู้ชายช่วยในการดูแลลูก การรักษาหัวนมแตก เป็นต้น

                  สิ่งเหล่านี้เป็นผลกระทบต่อความเชื่อเดิมของผู้สูงอายุ อาจเป็นผลให้เกิดปัญหาในครอบครัว
                  ตามมาด้วย ดังนั้น การให้ความรู้แก่ครอบครัว การทำความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์โครงการ
                  จึงเป็นสิ่งสำคัญ และเมื่อเริ่มดำเนินโครงการไปได้ระยะหนึ่ง เทศบาลตำบลป่าแดดและ

                  กลุ่มสายใยรักฯ ก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเริ่มดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์
                  เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนให้ได้รับรู้ถึงประโยชน์ของโครงการฯ ดังนี้


                        1) การใช้เสียงตามสาย (ซึ่งใช้ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากประชาชนไม่ได้ฟังบ้าง และไม่เชื่อบ้าง)

                        2) รถยนต์ 4 ล้อประชาสัมพันธ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้อยู่เป็นประจำ ซึ่งจะมีรถวิ่งไปรอบ ๆ ทั้ง

                  13 หมู่บ้าน เป็นกลวิธีที่ใช้ได้ผล เนื่องจากเทศบาลได้ดำเนินการซ้ำ ๆ มากว่า 4 ปี โดยปัจจุบัน
                  รถดังกล่าวจะออกวิ่งทุกวันอาทิตย์เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ

                        3) แทรกการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาลฯ ที่มีประชาชน

                  เข้ามาร่วม

                        4) จัดเสวนาสัญจรทั่วทั้งพื้นที่ตำบลป่าแดด เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการ ซึ่งผู้ที่ให้ความรู้

            กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
                  ในการเสวนานั้นส่วนใหญ่คือแก่นนำ อสม. หรือเชิญวิทยากรจากศูนย์แม่และเด็กมาให้ความรู้
                        จากการประชาสัมพันธ์ในระยะยาวดังกล่าวทำให้ประชาชนเริ่มเรียนรู้ และเข้าใจ จนกระทั่ง

                  เปิดใจที่จะเข้าร่วมโครงการมากขึ้น และเมื่อประชาชนเริ่มเข้าใจและเห็นประโยชน์ในการดำเนิน
                  โครงการฯ ส่งผลให้เครือข่ายต่าง ๆ ร่วมถึงกลุ่มสายใยรักฯ สามารถดำเนินงานได้สะดวกยิ่งขึ้น

                        สำหรับกระบวนการการดำเนินงานของกลุ่มสายใยรักแห่งครอบครัวได้คัดเลือก อสม.

                  ที่มีความสามารถที่ผ่านการเรียนรู้และการอบรมจากโรงพยาบาลต่างๆ จากเครือข่ายในการดำเนิน
                  โครงการในการดูแลคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และหลังคลอด ประมาณหมู่ละ 5 คน 13 หมู่บ้าน

                  (ปัจจุบัน อสม. ในพื้นที่มีจำนวน 150 คน) เป็นผู้ที่คอยค้นหา ติดตาม เยี่ยม และให้คำแนะนำ
                  คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และหลังคลอดเป็นประจำ ซึ่งจะให้การดูแล คอยสอนวิธีการให้นมแม่อย่าง
                  ถูกต้อง แก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้นมแม่แก่เด็กแรกเกิด ซึ่ง อสม. และคุณแม่ จะแลกเบอร์

                  โทรศัพท์กันไว้ เพื่อให้สามารถปรึกษากันได้ตลอดเวลา และหลังจากดำเนินการของกลุ่ม
                  สายใยรักฯ ในแต่ละเดือนเสร็จสิ้นก็จะมีการประชุมกันเป็นประจำทุกเดือนเพื่อรายงาน

                  ความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ เช่น จำนวนคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน
                  เด็กแรกเกิดในแต่ละเดือน จำนวนคุณแม่ที่สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสายใยรักฯ ต้องให้ดูแล






                      สถาบันพระปกเกล้า
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87