Page 78 - kpi20542
P. 78
หลังคลอด ซึ่งกลุ่มสายใยรักฯ จะมีการประชุมเพื่อรายงานผลการดำเนินงานและสถานการณ์
ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอดเป็นประจำทุกเดือน
และในปี พ.ศ. 2552 นี้เอง เป็นปีเดียวกันที่เทศบาลตำบลป่าแดดได้จัดสรรงบประมาณ
และกำหนดแผนการดำเนินงานในทุกหมู่บ้าน และกำหนดแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้าน
การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไว้ในเทศบัญญัติของระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณของเทศบาล
แสดงให้เห็นว่าเทศบาลฯ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
และต่อมาในปี พ.ศ. 2553 เริ่มมีเครือข่ายโรงเรียนวัดวังสิงห์คำ ที่ได้บูรณาการเพิ่มหลักสูตรการให้
ความรู้เรื่องนมแม่เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน จนกระทั่งนำไปสู่การระดม
ความคิด เพื่อกำหนดแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (SRM) ของโครงการตำบลนมแม่สายใยรักแห่ง
ครอบครัวป่าแดด ปี 2555 – 2559 ที่มีจุดหมายอยู่ 4 ระดับ ได้แก่
ระดับ จุดมุ่งหมาย
ระดับพื้นฐานขององค์กร/ - มีระบบข้อมูลที่ทันสมัย และเชื่อมโยงกัน
ชุมชน - มีทีมงานที่เข้มแข็ง มีความรู้ เสียสละ มีจิตอาสา
- มีผู้นำที่เข็มแข็ง ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
- มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี
ระดับกระบวนการ - มีแผน/แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการวางแผนดำเนินงาน
กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
- มีระบบการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ที่ดี
- มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- มีการติดตามและประเมินผล
ระดับภาคี - เทศบาล/ผู้นำชุมชน ให้การสนับสนุน
- หน่วยงานภาครัฐ/องค์กรเอกชน สนับสนุนการดำเนินงานแบบบูรณาการ
- ภาคประชาชน/อสม. ให้การสนับสนุน ขับเคลื่อนกิจกรรม
ระดับประชาชน - มีส่วนร่วมในการวางแผนงาน/โครงการ/นวัตกรรม และในทุกกระบวนการ
- มีโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน
- มีครอบครัวที่อบอุ่นในชุมชน ครอบครัวตัวอย่าง “กิน กอด เล่น เล่า”
- มีระบบเฝ้าระวังนมผสม
จากจุดหมายทั้ง 4 ระดับเทศบาลตำบลป่าแดดได้นำไปจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
ฉบับหลักและฉบับปฏิบัติการ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะดำเนินการ
พร้อมผู้รับผิดชอบ ในตารางที่เรียกว่า “ตารางนิยามเป้าประสงค์ หรือ ตาราง 11 ช่อง”
เทศบาลตำบลป่าแดดได้ดำเนินโครงการพร้อมกับเครือข่ายต่าง ๆ เรื่อยมาจนกระทั่งประสบ
ความสำเร็จได้รับรางวัลพระปกเกล้าในปี พ.ศ. 2560
2 สถาบันพระปกเกล้า