Page 76 - kpi20542
P. 76
อย่างน้อย 6 เดือน ในตำบลป่าแดดนั้นมีอัตราต่ำกว่าร้อยละ 30 และทำให้การฝากครรภ์ของแม่
ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
มีระยะเวลาที่น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ซึ่งทำให้เด็กอายุ 0 – 1 2 เดือนเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายส่งผล
ให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ครอบครัวต้องใช้เงินมากขึ้น ทำให้ต้องทำงานมากขึ้นและ
ไม่มีเวลาให้กับเด็กอย่างเพียงพอ เด็กขาดความอบอุ่น และยังพบว่าหลังจากเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป
ครอบครัวนิยมนำเด็กไปฝากศูนย์เด็กเล็กเอกชนและต่อด้วยเข้าโรงเรียนเอกชน ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่าย
ที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้เองประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึงเทศบาลตำบล
ป่าแดดจำเป็นต้องเริ่มให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ ด้วยการริเริ่มการดูแล
เอาใจใส่คุณแม่ที่จะให้กำเนิดลูกที่มีร่างกายที่แข็งแรง และมีครอบครัวที่อบอุ่น ในตำบลป่าแดด
จึงได้เริ่มดำเนินการโครงการเครือข่ายสายใยรักแห่งครอบครัวตำบลป่าแดดขึ้นและสร้างเป็น
รูปธรรมในปัจจุบัน
ดังนั้น หากจะศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการฯ คงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ ปี
พ.ศ. 2548 มีครอบครัวหนึ่งที่มีประสบการณ์ในการคลอดบุตร และเกิดความผิดปกติเนื่องจาก
น้ำนมของแม่เด็กมีน้อยและหัวนมแตก ทำให้เกิดปัญหาในการให้นมเด็ก ต่อมาครอบครัวดังกล่าว
ก็ได้เข้ารับการรักษาที่คลินิกนมแม่ ซึ่งคลินิกนั้นมีวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ประทับใจอย่างยิ่ง
กล่าวคือ ทางคลินิกจะให้ผู้เป็นพ่อเข้าไปร่วมฟังและเรียนรู้การดูแลคุณแม่ เพื่อให้สามารถดูแล
คุณแม่ได้เมื่ออยู่ที่บ้าน เช่น การสอนอุ้มเด็ก สอนนวดนมแม่ เป็นต้น จนผู้เป็นแม่สามารถให้นมลูก
กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
ได้ตามปกติ ซึ่งหากเป็นชาวบ้านปกติก็อาจจะล้มเลิกการให้นมแม่แก่เด็กแรกเกิด และเปลี่ยน
เป็นการให้นมผงสำเร็จรูปแทน ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เด็กแรกเกิด และยังเป็นเหตุผลที่ทำให้
เด็กแรกเกิดป่วยอยู่บ่อย ๆ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้เป็นพ่อเกิดสนใจในวิธีการดูแลของคลินิก
นมแม่ และได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่เกี่ยวกับการดูแลแม่ลูกอ่อน
หลังคลอด เพื่อให้มีการดูแลแบบเดียวกันนี้ขยายไปสู่ชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีและควรได้รับ
ความสนใจ ผนวกกับในช่วงเวลาดังกล่าว มีการตั้งโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ซึ่งเป็น
โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
ในตอนนั้น (พ.ศ. 2549) และมีนโยบายให้ขยายผลการดูแลให้ทั่วถึงสู่ชุมชน ซึ่งพอดีกับประชาชน
ในพื้นที่ตำบลป่าแดดมีความพร้อมและความต้องการที่จะรับนโยบายเข้ามาดำเนินการ จึงทำให้
เริ่มมีการรณรงค์ให้มีการฝากครรภ์ และสนับสนุนให้นมลูกด้วยนมแม่จนครบอย่างน้อย 6 เดือน
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวตำบลป่าแดด
และในปี พ.ศ. 2549 นั้นเอง เทศบาลตำบลป่าแดดและอาสาสมัคร (อสม.) ได้เริ่ม
ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการอย่างจริงจัง โดยมีชุมชนนำร่องในการตรวจเยี่ยมและรณรงค์ให้เด็ก
แรกเกิดดื่มนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนในหมู่ที่ 8 ตำบลป่าแดด ซึ่งในขณะนั้นยังถูกมองว่า
0 สถาบันพระปกเกล้า