Page 70 - kpi20542
P. 70
ความแตกต่างทางด้าน ชาติพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรมและความเชื่อ ขณะที่โรงเรียนเทศบาล 7
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ฝั่งหมิ่น เด็กนักเรียนอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี แต่ผู้ปกครองไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูก
เพราะต้องทำงาน นักเรียนส่วนใหญ่จึงถูกเลี้ยงดูโดยการใช้สื่อเทคโนโลยีที่มากเกินความจำเป็น
ส่งผลให้นักเรียนมีสมาธิและมีความอดทนในการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียนได้น้อยลง รวมทั้ง
ยังขาดทักษะในการเล่นของเล่นร่วมกับเพื่อนหรือขาดทักษะในการแบ่งปันสิ่งของ ผลที่เกิดขึ้น คือ
ความขัดแย้งกับเพื่อนในห้องเรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ นักเรียนมาจากครอบครัว
ที่หลากหลายทั้งคนเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงทำให้ปรับตัว
เข้ากับเพื่อนได้ยาก อีกทั้งสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวยากจน ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลา
ในการดูแลเอาใจใส่ ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อาทิ พฤติกรรมรุนแรง
การทะเลาะวิวาท การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การลักขโมย การค้าประเวณี และการก่อ
อาชญากรรม เป็นต้น
จากปัญหาดังกล่าวทางเทศบาลจึงได้ให้ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน เข้าไปดำเนิน
กิจกรรมจิตศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนเพื่อแก้ปัญหาทัศนคติ
ที่ไม่ดีต่อเพื่อนต่างชาติพันธุ์ ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีกันขึ้นในหมู่เด็กและเยาวชน นอกจากนี้
ยังได้ถ่ายทอดกระบวนการทำกิจกรรมจิตศึกษาให้แก่บุคลากรของทั้ง 4 หน่วยงานให้สามารถ
นำกระบวนการ รูปแบบ วิธีการของผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน ไปประยุกต์ใช้กับ
หน่วยงานของตน ทำให้เด็กและเยาวชนมีทัศนคติและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
เด็กและเยาวชนที่มีภูมิหลังและเชื้อชาติแตกต่างกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขและมี
ความสุขมากขึ้น มีความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทลดลง
กรณีศึกษา: ด้านการศึกษา
สถาบันพระปกเกล้า