Page 68 - kpi20542
P. 68

2. การที่โรงเรียนมีผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำห้องเรียน (LS) ทำให้โรงเรียนต้องวางระบบ
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  การบริหารจัดการผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นจากอัตรากำลังที่มีอยู่เดิม ซึ่งทางผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ

                  เพิ่มขึ้นจากงานที่มีอยู่เดิม เช่น การรับสมัครคัดเลือก การวางระบบสายการดูแลบังคับบัญชา
                  การประเมินผล การพัฒนาความสามารถ การตรวจรายงานของผู้สนับสนุน เป็นต้น ซึ่งนับว่า
                  เป็นการเพิ่มภาระงานที่มีอยู่เดิม ซึ่งต้องอาศัยความทุ่มเท และเอาใจใส่ของผู้บริหารโรงเรียน


                        3. ความหลากหลายของนักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การทำงานของผู้สนับสนุนการเรียนรู้
                  ประจำห้องเรียน (LS) นั้นยากขึ้น เช่น นักเรียนบางคนมีนิสัยเก็บตัวไม่ยอมพูดคุยกับผู้อื่น บางคน

                  มีนิสัยเกเรไม่เชื่อฟัง บางคนมีความเป็นวิชาการสูง เป็นต้น ผู้สนับสนุนจะต้องมีเทคนิคเฉพาะ
                  ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพื่อที่จะทำให้นักเรียนไว้ใจ พูดคุยด้วย ยอมเล่าถึงปัญหา และ

                  ความต้องการของเขา เพื่อที่ผู้สนับสนุนจะช่วยแก้ไขปัญหา และช่วยผลักดันนักเรียนไปสู่สิ่งที่
                  นักเรียนตั้งเป้าหมายเอาไว้

                  ปัจจัยความสำเร็จ

                        1. การมีผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา นายกเทศบาล

                  นครเชียงราย นายวันชัย จงสุทธานามณี ได้แถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลนครเชียงรายในวันที่
                  1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 โดยการศึกษาเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ พัฒนาการจัดการศึกษาตั้งแต่

                  ชั้นเด็กเล็กจนถึงมัธยมศึกษา สู่ความเป็นเลิศในระดับมาตรฐานสากล ส่งเสริมเมืองเชียงรายให้เป็น
                  เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีมาตรการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา
                  นายกเทศมนตรีพัฒนาการศึกษาโดยไม่มองว่า เป็นหน้าที่ของทางโรงเรียนเท่านั้น แต่นายก

                  เทศมนตรีจะร่วมคิด ร่วมพัฒนา และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนทั้งในประเทศ
            กรณีศึกษา: ด้านการศึกษา   นโยบายการพัฒนาที่ชัดเจน มุ่งการพัฒนาคุณภาพเด็กเป็นสำคัญของนายกเทศมนตรี ทำให้
                  และต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น พัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ซึ่งจากการที่มี


                  การทำงานของฝ่ายบริหารโรงเรียนนั้นทำได้โดยง่าย ทำให้เรื่องผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำ
                  ห้องเรียน (Learning Support Assistant : LS) เกิดขึ้นมาได้


                        2. การมีฝ่ายบริหารของโรงเรียนเทศบาลที่มีความทุ่มเทในการทำงาน และยึดผลประโยชน์
                  ต่อเด็กนักเรียนเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะผู้อำนวยการโรงเรียนเปรียบเสมือนหัวเรือใหญ่ของสถานศึกษา

                  ซึ่งผู้อำนวยการได้กล่าวว่า เมื่อได้รับข้อมูลเด็กนักเรียนทั้ง 4 ด้านจากผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำ
                  ห้องเรียน (LS) แล้ว ต้องนำมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเด็กจริงๆ ไม่อยากจะให้เด็กพลาดแม้แต่

                  จุดเดียว ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตของเขา ดังนั้นครูประจำชั้นและผู้สนับสนุนการเรียนรู้ประจำ
                  ห้องเรียนจึงต้องดูแลเอาใจใส่นักเรียนที่ตนดูแล หากเกิดปัญหาต่อเด็กโดยไม่ได้ดูแล ถือว่า
                  ทำหน้าที่บกพร่องและส่งผลต่อการประเมินทั้งครูและผู้สนับสนุน ในอีกทางหนึ่งผู้อำนวยการก็ให้




                  2   สถาบันพระปกเกล้า
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73