Page 225 - kpi20542
P. 225

การบริหารงานเพราะลำพังเพียงองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาองค์กรเดียวคงไม่สามารถสร้าง
                      ความสำเร็จและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและหลายมิติได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                            1. องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา

                              ดำเนินการตั้งศูนย์อำนวยการ

                      เฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้งระดับ
                      อำเภอ ร่วมกับคณะกรรมการระดับตำบล
                      ประชุมร่วมกันเพื่อตรวจสอบความเสียหาย

                      ของพื้นที่ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน                                               “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                      ทั้งขณะเกิดภัยแล้งและหลังเกิดภัยแล้ง สำรวจ

                      ความเสียหายต่ออาชีพของแต่ละชุมชนและ
                      อาณาเขตพื้นที่ภัยแล้ง โดยรวบรวมนำข้อมูลทั้งหมดมาประชุมกับผู้บริหาร บุคลากร และ
                      ผู้นำชุมชน ผู้แทนชุมชนในหมู่บ้าน รับผิดชอบการประสานงาน การจัดตั้งคณะกรรมการภาคี

                      เครือข่าย ประชุมปรึกษาหารือร่วมกับผู้นำชุมชน การประปาส่วนภูมิภาคจอมทอง กลุ่มผู้ใช้น้ำ
                      กลุ่มเหมืองฝาย ประธานกลุ่มประปาหมู่บ้าน เกษตรกรในพื้นที่ เป็นฝ่ายกลางเจรจาระหว่าง

                      หน่วยงานราชการทั้งในและนอกตำบลข่วงเปา รวบรวมข้อมูลและสรุปปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย
                      ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเสนอแก่ภาคีเครือข่าย การแจกจ่ายน้ำให้ชุมชนที่ไม่ได้รับความสะดวก
                      กล่าวได้ว่า องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาทำหน้าที่เป็นแกนหลักเครือข่ายในการขับเคลื่อนงาน

                      ในพื้นที่และเป็นศูนย์กลางในการทำงานด้านข้อมูลรายละเอียดปัญหา การรับแจ้งผู้ที่ได้รับ
                      ความเสียหายจากภัยแล้ง

                            2. ชมรมเหมืองฝาย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน

                              ทำหน้าที่ร่วมคิดและเสนอรูปแบบการจัดทำแผนป้องกันปัญหาภัยแล้ง มีหน้าที่หลักคือ

                      การทำฝายชะลอน้ำและเก็บกักน้ำ กล่าวได้ว่าเป็นเครือข่ายและแกนนำสำคัญที่มีสมาชิกของชมรม
                      เป็นเกษตรกรทั้งหมด โดยมีหัวหน้าเหมืองฝายเป็นผู้นำทางความคิดในการดูและแก้ไขปัญหา        กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
                      ผ่านวิธีการแบ่งปันน้ำกันในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ตำบลข่วงเปา ตำบลสบเตี๋ยะ ตำบลบ้านหลวง

                      เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนแก่ประชาชน ซึ่งวิธีการใช้ปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นหัวหน้าเหมืองฝาย
                      ดำเนินการนั้นเป็นกระบวนการที่สร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นให้แก่สมาชิกและชุมชน

                      ในแต่ละพื้นที่ เพราะกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านนี้เป็นกลุ่มคนที่มีเชี่ยวชาญด้านน้ำ เป็นกลุ่มที่มีความรู้
                      ในเชิงปฏิบัติมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพราะเข้าใจสภาพพื้นที่มาโดยตลอด










                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   21
   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230