Page 220 - kpi20542
P. 220
กิจกรรมฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างเดิม กิจกรรมปรับภูมิทัศน์ กิจกรรมการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ กรณีตัวอย่าง
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
กิจกรรมสร้างจิตสำนึกลำน้ำแม่ข่า และกิจกรรมจิตอาสารักษ์ลำน้ำสาขาทุกสาย จนทำให้คลอง
แม่ข่าเริ่มกลับมามีคุณภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ
การต่อยอดในอนาคต
หลังจากที่เทศบาลตำบลป่าแดดและเครือข่ายได้ดำเนินโครงการฟื้นฟูคลองแม่ข่าแล้ว
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นตามมาก็ คือ “การฟื้นตัวกลับมาของคลองแม่ข่า” ที่เคยเป็นคลองน้ำ
ที่เน่าเสียค่อย ๆ ถูกฟื้นฟูกลับมาจนกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนที่ถูกริเริ่มโดย คุณ ยุพิน
ชาวบ้านหมู่ 8 ในตำบลป่าแดด ที่ได้ตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเบื้องต้นขึ้นเพื่อให้
เด็กนักเรียนชั้นปฐมศึกษาจนกระทั่งถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้ามาศึกษาเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรม
ในการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า โดยเทศบาลตำบลป่าแดดมีหน้าที่ชักชวนให้กลุ่มเด็กเข้ามาร่วมกัน
ในการทำกิจกรรมการปล่อยลูกบอล EM (ลูกบอลชีวภาพ) ลงในคลองแม่ข่า เมื่อน้ำในคลอง
เริ่มส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งทำให้เด็กเริ่มให้ความสนใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเทศบาลฯ มีวิธีในการ
เข้าถึงเด็กและเยาวชนโดยการเข้าหาโรงเรียนในพื้นที่ พูดคุยทำความเข้าใจกับสภาเด็กและเยาวชน
จนสามารถขยายความร่วมมือไปยังกศน. จนกระทั่งได้มีการทำสัญญาข้อตกลงร่วมกันกับ กศน.
ให้มีการบรรจุหลักสูตรการรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลคลองแม่ข่าในด้านต่าง ๆ มีการกำหนด
หลักสูตร การปลูกจิตสำนึกให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาใน กศน. โดยเทศบาลฯ จะเป็นผู้ประสานงาน
ในการเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้แก่นักศึกษา ซึ่งก็เป็นอีก
ช่องทางหนึ่งที่จะปลูกจิตสำนักให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้มีจิตสาธารณะและช่วยกันรักษาคลอง
แม่ข่าให้กลับมาสดใสอย่างยั่งยืน
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเบื้องต้น
21 สถาบันพระปกเกล้า