Page 216 - kpi20542
P. 216
โดยมีสมาชิกเพียง 10 คน ในปี พ.ศ. 2557 โดยมีนายเชาวลิต ชูชาติ อดีตข้าราชการ ซึ่งเป็น
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้นำในการตั้งทีมจิตอารักคลองแม่ข่า เพื่อเก็บขยะในคลองแม่ข่าที่ไหล
รวมมาจนกระทั่งถึงปลายน้ำ ซึ่งทำให้คลองแม่ข่าเกิดความสกปรกและเป็นบ่อเกิดของการทำให้
น้ำเน่าเหม็น โดยภารกิจของทีมจิตอาสานั้นจะช่วยกันสอดส่องดูแลคลองแม่ข่าและเก็บกู้ขยะหรือ
สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้น้ำเน่าเสียขึ้นมาจากคลองแม่ข่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ทีมจิตอาสาฯ
ได้เข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือจากเทศบาลตำบลป่าแดดในการรักษาคลองแม่ข่าให้กลับมามี
คุณภาพน้ำที่ดีอย่างเดิม เนื่องจากโดยลำพังแล้วกลุ่มทีมจิตอาสาฯ ไม่สามารถจะแก้ปัญหาน้ำเน่า
เสียได้ด้วยตนเองเนื่องจากมีอุปสรรคในหลายประเด็น เช่น บุคลากรในการดำเนินงาน
งบประมาณ อุปกรณ์ในการกักเก็บขยะ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องหาหน่วยงานที่มีศักยภาพในการ
ประสานงานและดำเนินการกิจกรรมดังกล่าว จากการขอความช่วยเหลือและสะท้อนปัญหา
ที่เกิดขึ้นของกลุ่มจิตอาสาโดยการนำของนายเชาวลิต ชูชาติที่มีสมาชิกเพียงไม่กี่คน แต่ด้วยความ
สามารถในการประสานงานของนายเชาวลิต ชูชาติ ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการทำให้การประสานงาน
กับหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปด้วยความราบรื่นเนื่องด้วยคุ้นชินกับระบบราชการในการจัดทำ
โครงการต่าง ๆ เป็นอย่างดี ก่อเกิดเป็นการกระตุ้นให้เทศบาลตำบลป่าแดดจัดเวทีระดมความ
คิดเห็นในการแก้ปัญหาคลองแม่ข่าขึ้น
การผนวกกำลังเครือข่าย
ในการประชุมระดมความคิดเห็น เทศบาลตำบลป่าแดดได้สร้างทีมงานหลักในการปฏิบัติ
หน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูคลองแม่ข่า ได้แก่ ประชาชนในหมู่ 1
หมู่ 7 และหมู่ 9 ซึ่งผลจากการระดมความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ มีความคิดเห็น
ว่าควรเริ่มจากให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยที่อยู่ในคลองแม่ข่าก่อน โดยได้จัดทำตะแกรงดักขยะไว้
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม ในคลองแม่ข่าสามารถแก้ไขได้ตรงจุดและจะพัฒนาให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้
3 จุด เพื่อสังเกตถึงที่มาของแหล่งกำเนิดขยะว่ามาจากชุมชนใด ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาขยะ
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการประชุมระดมความคิดเห็นเกิดขึ้นเทศบาลตำบลป่าแดด
ได้ขับเคลื่อนการดำเนินการในการฟื้นฟูคลองแม่ข่า โดยมีการจัดประชุมภายในเทศบาลขึ้นเพื่อขอ
ความเห็นชอบและหาแนวทางในการพัฒนาฟื้นฟูครองแม่ข่า ผลปรากฏว่าทุกกองในเทศบาล
ตำบลป่าแดดเห็นชอบตรงกันที่จะให้ความสำคัญในการฟื้นฟูคลองแม่ข่าอีกครั้ง ที่ใช้คำว่า
“อีกครั้ง” นั้นเนื่องจากที่ผ่านมาเทศบาลตำบลป่าแดดก็ได้พยายามพัฒนาฟื้นฟูคลองแม่ขามาแล้ว
แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดแนวร่วมในการดำเนินงานที่ยั่งยืน ซึ่งบัดนี้เมื่อมี
ประชาชนในชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่กลับมาให้ความสำคัญในการฟื้นฟูคลอง แม่ข่า
แล้วก็เป็นผลทำให้การดำเนินงานนั้นเดินหน้าต่อไปได้ดียิ่งขึ้น หากแต่ในช่วงปีแรก ๆ ของการ
210 สถาบันพระปกเกล้า