Page 217 - kpi20542
P. 217
ดำเนินโครงการนั้น หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่อาจจะยังมีปัญหาในการอนุมัติงบประมาณในการ
ดำเนินงานร่วมกับเทศบาลตำบลป่าแดดอยู่บ้าง แต่ในปีต่อ ๆ มานั้น เมื่อเทศบาลตำบลป่าแดด
และประชาชนในพื้นที่ยังดำเนินการฟื้นฟูคลองแม่ข่าอยู่เรื่อย ๆ ก็เป็นผลให้หน่วยงานต่าง ๆ
ในพื้นที่มั่นใจและกล้าที่จะให้การสนับสนุนมากยิ่งขึ้น
ความสำเร็จของการสร้างเครือข่าย
ความพยายามร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชาสังคมสร้าง
ให้เกิดเครือข่ายในการทำงานขึ้นและได้ทำสัญญาข้อตกลงร่วมมือ (MOU) ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู
คลองแม่ข่าขึ้น ภายใต้การดำเนินกิจกรรม “ประชารัฐร่วมใจคืนนำใสให้คลองแม่ข่า” โดยมีการ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
แบ่งหน้าที่กันในการดำเนินการกันอย่างชัดเจนดังที่ได้นำเสนอไปแล้วในตอนต้น
ซึ่งหลังจากที่เทศบาลตำบลป่าแดดได้ทำสัญญาข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างหน่วยงาน
ต่าง ๆ ในการฟื้นฟูคลองแม่ข่าแล้วนั้น เทศบาลฯ ก็ได้สนับสนุนให้มีการจดทะเบียนทีมจิตอาสา กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
ให้ถูกต้องตามกฎหมายเป็นอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ
ทสม. ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 1 เพื่อให้มีหน้าที่และความชอบธรรมในการดำเนินกิจกรรม
ปลูกจิตสำนึกให้แก่ชาวบ้าน ดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งหมดในพื้นที่ โดย ทสม. และทีมจิตอาสาจะเป็น
หัวใจหลักในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสร้างแพในการดักและเก็บขยะ การผลิตและ
เป็นแกนนำในการนำลูกบอล EM (น้ำหมักชีวภาพ) ซึ่งผลิตโดยปราชญ์ชาวบ้าน ปล่อยลงสู่
คลองแม่ข่า เพื่อดับกลิ่นน้ำที่เน่าเสีย ซึ่งในกรณีการปล่อยลูกบอล EM ลงสู่คลองแม่ข่านั้น
จะปล่อยลงสู่คลองแม่ข่าเมื่อน้ำคลองแม่ข่าหยุดนิ่งและเริ่มส่งกลิ่นเหม็น โดยทีม ทสม. และ
สถาบันพระปกเกล้า 211