Page 218 - kpi20542
P. 218
จิตอาสาจะกระจายข่าวไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ในพื้นที่ให้ปล่อยลูกบอล EM ลงในคลองแม่ข่า
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ซึ่งเป็นการทำให้น้ำที่ส่งกลิ่นเหม็นบรรเทาลงได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ใกล้เคียงนำเอาแนวคิดการดูแลฟื้นฟูคลองแม่ข่าไปใช้ด้วย เช่น เทศบาลนครเชียงใหม่ที่นำแนวคิด
การสร้างแพ ตะแกง ดักขยะ ไปใช้จนสามารถระบุได้ว่าพื้นที่ใดเป็นต้นเหตุในการผลิตขยะและ
สามารถจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ อีกทั้งยังได้มีการประสานงานกับหน่วยงาน
ชลประทานที่ดูแลคลองแม่ข่า ในการเปิดปิดประตูน้ำบริเวณตำบลดอนแก้วให้ไหลเข้ามาขับน้ำ
ที่เน่าเสียในคลองแม่ข่าออกไปเมื่อน้ำในคลองแม่ข่าเกิดเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น อีกทั้งยังได้มี
การใช้เครื่องเติมอากาศจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้ามาใช้เพื่อทำให้เกิดออกซิเจนในน้ำมากยิ่งขึ้น
ทำให้น้ำไม่เน่าเสีย และยังได้ทำแปลงผักตบชวานำไปลอยบนผิวน้ำในคลองแม่ข่าเพื่อใช้สกัดกลั้น
สารปนเปื้อนที่ถูกทิ้งลงสู่คลองแม่ข่า โดยปัจจุบันมีอยู่กว่า 10 จุด และที่สำคัญได้มีการนำถังดัก
ไขมันไปติดตั้งให้กับบ้านและสถานประกอบการที่อยู่ติดกับคลองแม่ข่า เพื่อให้มีการดักของเสีย
ในน้ำทิ้งก่อนที่จะทิ้งลงไปยังคลองแม่ข่า จากการร่วมมือร่วมใจกันของเครือข่ายทำให้การดำเนินงาน
ในการฟื้นฟูคลองแม่ข่าประสบความสำเร็จและยั่งยื่น เนื่องจากทุกหน่วยงานในพื้นที่เห็น
ความสำคัญและร่วมด้วยช่วยกันรักษาคลองแม่ข่าอย่างต่อเนื่อง
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม การสังเกตุน้ำว่าส่งกลิ่นเหม็นในมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากส่งกลิ่นเหม็นมาก ประชาชนในบริเวณ
ขั้นตอนการดำเนินงานเมื่อน้ำเริ่มส่งกลิ่นเหม็นของเทศบาลตำบลป่าแดดนั้น เริ่มต้นจาก
ใกล้เคียงทนเริ่มทนไม่ไหว ก็จะแจ้งให้ทีมจิตอาสา ปล่อยลูกบอลชีวภาพลงสู่คลองแม่ข่าเพื่อ
ดับกลิ่น และแจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ซึ่งเป็นเครือข่ายร่วมกับเทศบาลฯ แจ้งหน่วยงานชลประทาน
เปิดประตูน้ำ เพื่อให้น้ำจากชลประทานไหลผลักดันน้ำเน่าเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นออกไปจากบริเวณ
คลองแม่ข่า หรือทำให้กลิ่นเน่าเหม็นเจือจางลง
ในการสร้างเครือข่ายในการดำเนินการฟื้นฟูคลองแม่ข่านั้นเทศบาลตำบลป่าแดดใช้ระยะ
เวลากว่า 3 ปี ในการรวบรวมและทำความเข้าใจกับเครือข่ายให้เข้ามาเห็นถึงความสำคัญของ
212 สถาบันพระปกเกล้า