Page 214 - kpi20542
P. 214
ร่วมกับเทศบาลตำบลป่าแดดและได้สนับสนุนถังน้ำพลาสติกในการนำมาทำเป็นแพเพื่อใช้เก็บขยะ
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ในคลองแม่ข่า
6) นักวิชาการ นำโดย ผศ. ดร.วสันต์ จอมภักดี และคณะ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นนักวิชาการในพื้นที่ที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับคลองแม่ข่า และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
การศึกษา เรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย และร่วมวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับคลองแม่ข่า เพื่อการรักษาฟื้นฟู
คลองแม่ข่าให้แก่ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลคลองน้ำด้วยตนเอง เช่น การใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การใช้เครื่องเติมอากาศที่ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาลัยเทคโนโลยี
โปลิเทคนิคลานนา เป็นต้น และยังได้ทำให้คลองแม่ข่ากลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน
นักศึกษาในการดูแลรักษา และฟื้นฟูคลองน้ำในพื้นที่
โครงสร้างเครือข่ายการบำบัดน้ำเสียและฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลองแม่ข่า
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
จากองค์ประกอบของเครือข่ายในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงให้
เห็นว่าเทศบาลตำบลป่าแดดนั้นให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
องค์กรต่าง ๆ ให้เห็นถึงปัญหาที่มีร่วมกันในพื้นที่ แล้วจึงผนึกกำลังกันขึ้นเป็นภาคีเครือข่าย
20 สถาบันพระปกเกล้า