Page 210 - kpi20542
P. 210
โดยเทศบาลตำบลป่าแดดได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ซึ่งได้ระบุไว้
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
เป็น 1 ใน 6 พันธกิจที่เทศบาลจะต้องดำเนินไปให้ถึงของเทศบาลตำบลป่าแดด คือ พันธกิจที่ 6
การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วนในตำบลและองค์กรภายนอก โดยเทศบาลตำบล
ป่าแดดจะมุ่งเน้นในการส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กร ประชาชนในชุมชน องค์กรภาครัฐ องค์กร
ภาคเอกชนภายในตำบลมีส่วนร่วมในการบูรณาการการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาตำบลร่วมกัน และ
ร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการจัดทำโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ และสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้
เทศบาลตำบลป่าแดดสามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนก็คือ ความตั้งใจ
ของนายกเทศมนตรีที่ให้ความสนใจและเน้นการดูแลรักษาคุณภาพชีวิตของประชาชน และ
สภาพแวดล้อมในพื้นที่เป็นลำดับแรก ก่อนการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นหลาย ๆ แห่งมักดำเนินการ
โดยที่ผ่านมานั้น เทศบาลตำบลป่าแดดได้มีโครงการและกิจกรรมที่น่าสนใจร่วมกับ
เครือข่ายในการบำบัดนำเสียและฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลองแม่ข่าอยู่หลายโครงการ เช่น เทศบาล
ตำบลป่าแดดได้มีการร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ในการดำเนิน
โครงการขุดลอกลำเหมืองสาธารณะประโยชน์ (ลำเหมืองแม่ข่า) ภายในพื้นที่เทศบาลตำบล
ป่าแดดร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ หรือกิจกรรมการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช
ในแหล่งน้ำสาธารณะ ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่และเทศบาลตำบลหนองหอย อีกทั้งยังมี
กิจกรรมการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลจากงานลอยกระทงในลำน้ำปิง ภายใต้ชื่อ “เมืองสะอาด
คนในชาติมีสุข” ร่วมกับสำนักงานชลประทานที่ 1 มลฑลทหารบกที่ 33 สำนักงานป้องกัน
และบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาล
นครเชียงใหม่ กิจกรรม “ประชารัฐร่วมใจคืนน้ำใสให้คลองแม่ข่า” ภายใต้โครงการขุดลอก
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม สำคัญในการดำเนินโครงการร่วมกับเครือข่ายเพื่อให้โครงการหรือกิจกรรมนั้นประสบความสำเร็จ
คลองแม่ข่า ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นต้น
โครงการและกิจกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเทศบาลตำบลป่าแดดตระหนักและให้ความ
ในการดำเนินงาน อีกทั้งยังได้มุ่งความสนใจไปที่การดูแลรักษาคลองแม่ข่าที่นับว่าเป็นคลองน้ำ
ที่มีความสำคัญกับจังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็น 1 ใน 4 ของแม่น้ำที่นับว่าเป็นแหล่งชัยภูมิของ
การสร้างเมืองเชียงใหม่ในสมัยของพญามังราย ถือเป็นการรักษามรดกทางประวัติศาสตร์ของเมือง
ไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้และศึกษาต่อไปในอนาคต
สำหรับการบริหารงานเครือข่ายของเทศบาลตำบลป่าแดดนั้นได้ให้ความสำคัญกับการใช้
กลไกการมีส่วนร่วมของหน่วยงานเครือข่าย และภาคประชาสังคมเป็นหลักในการดำเนินงานให้มี
ประสิทธิภาพ โดยขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนปัญหาที่เดิมทีเป็นของภาครัฐให้กลายมาเป็นการบริหาร
20 สถาบันพระปกเกล้า