Page 215 - kpi20542
P. 215
เพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน และนับเป็นความสำเร็จของเทศบาลตำบลป่าแดดที่สามารถ
สร้างเครือข่ายที่พร้อมจะมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาร่วมกัน เพราะการจัดการกับปัญหา
น้ำเน่าเสียเป็นปัญหาที่จัดการได้ยาก หากประชาชนในชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่
ไม่เห็นถึงความสำคัญและร่วมกันจัดการแก้ปัญหา
กระบวน/ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายการบำบัดน้ำเสียและฟืนฟูคุณภาพน้ำ
ในคลองแม่ข่า
ในอดีตคลองแม่ข่านับว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนเชียงใหม่ ควบคู่กับแม่น้ำปิง โดยน้ำแม่ข่า
สายหลักนั้นไหลผ่านหลายพื้นที่ ได้แก่ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม เทศบาลนครเชียงใหม่ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
เทศบาลตำบลป่าแดด เทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เทศบาลตำบลผักหวาน และ
ไหลลงสู่แม่น้ำปิงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง และในขณะเดียวกัน
จากความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำแม่ข่าทำให้มีประชาชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวบริเวณแม่น้ำ
แม่ข่าเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป สภาพสังคมเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของ
ประชาชนในการใช้น้ำก็เปลี่ยนไป จากในอดีตที่ประชาชนใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในการนำน้ำ
ในแม่น้ำมาใช้สอย หรือการหาอาหารในแม่น้ำ แปรเปลี่ยนการทำลายแม่น้ำโดยไม่รู้ตัวจากการทิ้ง
ขยะ และสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ สาเหตุหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้คน
ในชุมชนไม่จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำในแม่น้ำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์ เพราะสังคม
สมัยใหม่ที่มีระบบปะปาซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการการใช้น้ำของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
และเพียงพอทุกชุมชน จึงทำให้ความสำคัญของคลองแม่ข่าต่อคนในชุมชนลดน้อยลง ประชาชน
ในชุมชนไม่ได้ให้ความสนใจที่จะอนุรักษ์ รักษาคลองแม่ข่าอีกต่อไป จนทำให้คลองแม่ขา
เริ่มเน่าเสียจากปัญหาขยะ และน้ำเสียที่ไหลลงไปยังคลองแม่ข่า โดยได้มีการสำรวจพบว่าปัญหา
ต่าง ๆ ส่วนใหญ่มาจากกลางน้ำบริเวณตลาดเมืองใหม่ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของเทศบาลนครเชียงใหม่
โดยต้นน้ำเป็นบริเวรขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว และปลายน้ำเป็นเทศบาลตำบล
ป่าแดด และด้วยคลองแม่ข่าอยู่ในความรับผิดชอบของประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ จากต้นน้ำ กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
จนกระทั่งปลายน้ำ และสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในบริเวณคลองแม่ข่า
คือระยะเวลาที่น้ำจะส่งกลิ่นเหม็นขึ้นมานั้นกินเวลาถึง 3-4 เดือนในช่วงหน้าร้อน จึงทำให้
ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่เริ่มกลับมาให้ความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญ
ในการดูแลรักษาคลองแม่ข่าร่วมกัน
จุดเริ่มต้นของเครือข่าย
การหันกลับมาให้ความสนใจและอนุรักษณ์ฟื้นฟูคลองแม่ข่าเริ่มต้นจากการที่ประชาชน
ในหมู่ 1 ของเทศบาลตำบลป่าแดด ซึ่งเป็นชุมชนปลายน้ำได้ตั้งทีมจิตอาสารักคลองแม่ข่าขึ้น
สถาบันพระปกเกล้า 20