Page 223 - kpi20542
P. 223
เพื่อผลักดันเป้าหมายในแต่ละโครงการ หลักการบริหารงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาใช้
คือ การกำหนดระบบการบริหารงานแบบบูรณาการกับเครือข่ายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ เน้นการ
เปิดพื้นที่และสร้างโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามาเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยังขาดแก่ตำบลข่วงเปา
ช่วยสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่ายให้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น มีการใช้หลักการ
“5 ร-2 ใจ” ร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมทำ ร่วมติดตาม ร่วมเป็นเจ้าของและให้ความจริงใจ สร้าง
ความไว้วางใจซึ่งกันและกันจนเกิดเป็นความเต็มใจและพร้อมร่วมเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์
ระหว่างกันได้
ความเป็นมา “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
จากสภาพพื้นที่ของแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภคในตำบลข่วงเปาจะมีแหล่งน้ำสำคัญ
3 แหล่ง คือ น้ำจากบ่อบาดาลและประปาหมู่บ้าน ซึ่งสูบมาจากแม่น้ำปิง แหล่งน้ำธรรมชาติ และ
อ่างเก็บน้ำ สำหรับปัญหาที่พบแบ่งสาเหตุได้ดังนี้
1. บ่อบาดาล (บ่อมือโยก
และบ่อสูบ) และประปาหมู่บ้าน
ปัญหาที่พบคือบางหมู่บ้านยังไม่มี
ระบบประปาครบทุกหมู่ (ยังขาด
อีก 3 หมู่บ้าน) ส่วนบ่อบาดาล
ประชาชนยังไม่มีภาชนะรองรับ
น้ำฝนหรือน้ำที่เก็บไว้ใช้งาน
2. แหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นน้ำสำหรับพื้นที่ทางการเกษตรแม้ว่าจะมีลำเหมืองใหม่และแม่น้ำ
ปิงไหลผ่านแต่พอเข้าสู่ฤดูแล้งแม่น้ำปิงจะแห้งและไม่เพียงพอใช้ บางพื้นที่ท่อส่งน้ำยังไปไม่ทั่วถึง
จึงยังต้องอาศัยน้ำบาดาลและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
3. อ่างเก็บน้ำมีลักษณะตื้น มีวัชพืชปกคลุมทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ตามความจุของ กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
ปริมาณอ่างเก็บน้ำ
จุดเริ่มต้นสำคัญโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2560
ที่ประสบปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง รวมทั้งพื้นที่ของตำบลข่วงเปามีการบุกรุกที่ดินสาธารณะ
การถากถางบุกรุกป่าเพื่อทำการเกษตร เข้าไปตัดไม้เพื่อนำไปเป็นถ่าน การเปลี่ยนพื้นที่ธรรมชาติ
ให้ไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรแบบไร้ทิศทาง จนเกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
กลายเป็นป่าเสื่อมโทรม มีการเผาทำลายป่า กลายเป็นปัญหาสะสมนำไปสู่วิกฤติภัยแล้งแบบ
ไม่ทันได้ตั้งตัวของชุมชนตำบลข่วงเปา ประกอบกับปัญหาที่แหล่งน้ำ 3 แหล่งในพื้นที่ไม่มี
สถาบันพระปกเกล้า 21