Page 227 - kpi20542
P. 227
3) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สนับสนุนกระสอบทราย การจัดทำ
อ่างเก็บน้ำสำรอง การจ่ายกระแสไฟฟ้าช่วงวิกฤติ
4) สร้างแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
โดยอาศัยต้นน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ วางระบบบริหารจัดการเหมืองฝาย ได้แก่
เหมืองผาอูฐ เหมืองหลวง และเหมืองใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จาก
เหมืองประมาณ 1,900 ครัวเรือน
5) ผันน้ำจากแม่น้ำปิงไปสู่พื้นที่การเกษตรโดยใช้ศูนย์พลังไฟฟ้า 5 สถานี “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
6) เชื่อมโครงการอ่างเก็บน้ำ ลำเหมืองสาธารณะ โครงการก่อสร้างระบบรางน้ำ
คอนกรีตเสริมเหล็กผันน้ำจากลำเหมืองใหม่ระยะทาง 8 กิโลเมตร
7) ส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติผ่านโครงการ ได้แก่
โครงการปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน โครงการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น โครงการ
ลดมลพิษในอากาศและป้องกันหมอกควันไฟป่า โครงการจัดทำแนวกันไฟ
8) สร้างความเข้าใจกับผู้ใช้น้ำและบริหารจัดการน้ำร่วมกันอย่างบูรณาการ
วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งการแก้ไข
ปัญหา คือ ฝ่ายบริหารและบุคลากรของ
องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ทำงานเชิงรุก
แก้ไขปัญหาด้วยการประชุมระดมความคิดเห็น
ใช้จุดเปลี่ยนในโครงการดังกล่าวสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือเพื่อต่อยอดโครงการบริหารจัดการ
น้ำอย่างยั่งยืน รวมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหา
ร่วมกันกับผู้ใช้น้ำ ระดมความคิดเห็นการแก้ไข กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
ปัญหาจากกลุ่มย่อยจากชาวบ้านอย่างใกล้ชิด
และสม่ำเสมอ พร้อมรับฟังผ่านทุกข้อคิดเห็น
การวิพากษ์วิจารณ์จากเวทีประชาคมทุกหมู่บ้าน พึ่งแนวคิดจากองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจาก
ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ เน้นแสวงหาความรู้จากหลักการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลักในการแก้ไขปัญหา
บริหารโดยการน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 9 “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาใช้ในการบริหารงานของ อบต.ข่วงเปา
สถาบันพระปกเกล้า 221