Page 230 - kpi20542
P. 230
งานร่วมกับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายทำงานร่วมกัน อำนวยความ
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
สะดวกในการลงพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพื่อให้วิกฤติการณ์ปัญหาบรรเทาได้อย่างรวดเร็ว การบริหาร
งานดังกล่าวเป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการที่ยั่งยืนของโครงการ รวมทั้งยังสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างเครือข่ายให้เชื่อมโยงและต่อยอดในอีกหลายโครงการให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล
ข่วงเปา
2. ผู้นำระดับองค์กรและผู้นำระดับพื้นที่มีแกนนำที่เข้มแข็ง หากวิเคราะห์ความสำเร็จ
ที่สำคัญ คือ การมีผู้นำที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชนตำบลข่วงเปา อันได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ได้รับการเคารพและเชื่อมั่นในองค์ความรู้ มีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้าใจ
สภาพวิถีชีวิตของชุมชน นำประเพณีวัฒนธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ หลอมหลวมความคิด
เรื่องการบริหารจัดการน้ำให้สมาชิกเห็นพ้องในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งการมีผู้นำท้องถิ่น
ที่เข้มแข็งลักษณะนี้เป็นทรัพยากรสำคัญในการแก้ไขปัญหาของตำบล ผู้นำมีความเสียสละ แบ่งปัน
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม ข่วงเปาในการปกป้องและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้ง ผู้นำองค์กร คือ นายกองค์การ
ข้อมูลความรู้ให้แก่ภาคีเครือข่ายภายใต้กระบวนการคิดร่วมกัน ซึ่งเป็นฐานชุมชนที่ยั่งยืนของตำบล
บริหารส่วนตำบลข่วงเปาที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน รู้จักและใกล้ชิดกับสมาชิกในชุมชน เปิดรับ
ทุกคำชมและคำวิพาษณ์วิจารณ์ของสมาชิกโดยไม่ถือว่าเป็นความเสียหายในการบริหารงาน
แต่เป็นข้อห่วงใยของสมาชิกเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา เพราะมีการลงพื้นที่พบปะประชาชน
อย่างสม่ำเสมอจึงเข้าใจถึงสภาพและประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดฐาน
ความศรัทธาความเป็นนักการเมืองของนายรุ่งสุริยา ส่งผลให้มีความเสถียรภาพทางการเมือง
ในพื้นที่อย่างยาวนาน
3. การบูรณาการและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ภาคีเครือข่ายต่างมีศักยภาพ
การบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างมีประสิทธิภาพ รับมือการภาวะภัยพิบัติระหว่างเกิดภัย
22 สถาบันพระปกเกล้า