Page 228 - kpi20542
P. 228
เทคนิคที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ระหว่างการประชุมระดมความคิดเห็นจะประสาน
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ให้เครือข่ายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเข้าร่วมประชุมรับฟังปัญหาเพื่อทำงานร่วมกัน ซึ่งในช่วง
เวลาดังกล่าวเป็นความอ่อนไหวทางอารมณ์ของชาวบ้านที่เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาเร่งด่วนและ
ต้องการใช้น้ำก่อน ซึ่งอาจมีความขัดแย้งทางความคิดระหว่างการประชุม จนท้ายที่สุด การใช้เวที
ดังกล่าวสามารถได้ข้อสรุป ยุติปัญหา เกิดแนวคิดแก้ไขข้อขัดแย้งและความไม่พึงพอใจได้ ถือเป็น
มติแบบสมานฉันท์และยินยอมพร้อมใจกันเพื่อผลประโยชน์ของตำบลข่วงเปา เทคนิคนี้ยังทำให้
ภาคีเครือข่ายได้รับข้อมูลปัญหาจากชุมชนโดยตรง เข้าใจปัญหาของชุมชนเช่นเดียวกับคนในพื้นที่
เกิดความคิดในการนำประสบการณ์ องค์ความรู้ เทคโนโลยี การบูรณาการงาน และงบประมาณ
เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ไปพร้อมกับชุมชน ผู้บริหารและบุคลากรขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลข่วงเปา
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการดำเนินโครงการวัดได้จากผลผลิตและตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 1 : แก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้งสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้
1. ช่วยเหลือให้บริการประชาชนที่ประสงค์ขอใช้น้ำ
สามารถดำรงชีวิตได้ในช่วงวิกฤติภัยได้ โดยมีผลผลิต ดังนี้
2. ก่อสร้างและปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านให้ใช้การได้ทุกหมู่บ้าน
3. ขุดอ่างเก็บน้ำ หมู่ 8 เพื่อรองรับการผันน้ำจากสถานีสูบน้ำพลังไฟฟ้าเพื่อใช้ทำระบบ
ประปาหมู่บ้าน
222 สถาบันพระปกเกล้า