Page 224 - kpi20542
P. 224
แผนเตรียมรับมือการใช้น้ำมาก่อนล่วงหน้า โดยครั้งแรกปี พ.ศ. 2557 เป็นปัญหาการขาดแคลนน้ำ
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
สำหรับอุปโภคบริโภคและน้ำใช้ ปี พ.ศ. 2558-2559 ซึ่งเป็นสถานการณ์รุนแรงและไม่เคยเกิดขึ้น
มาก่อนในตำบลข่วงเปา มีระดับความรุนแรงของภัยแล้งอยู่ในขั้นวิกฤติ จังหวัดเชียงใหม่
ต้องประกาศให้อำเภอจอมทองเป็นพื้นที่ภัยพิบัติแล้ง ชุมชนและประชาชนได้รับความเดือดร้อน
2,004 คน 1,069 ครัวเรือน โรงเรียนจำนวน 3 แห่ง วัด 4 แห่ง ไม่มีน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค
พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายและล้มตายยกสวน จำนวน 219 ไร่ มูลค่าความเสียหาย
370,870.50 บาท
ระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นขั้นวิกฤตการณ์ที่ชุมชนเดือนร้อนและไม่สามารถ
อยู่ได้ รวมทั้งปัญหาดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อพื้นที่ของตำบลบ้านหลวง พื้นที่ตำบลสบเปี๊ยะ
ทำให้ชุมชนต้องร้องขอการใช้น้ำอย่างเร่งด่วนจากการประปาส่วนภูมิภาคมาบรรเทาความ
เดือดร้อนชั่วคราวในแต่ละวันซึ่งถือว่าเป็นการสูบน้ำเพื่อใช้ในการกินอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ไม่
สามารถสูบน้ำเพื่อทำการเกษตรได้ องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาเองก็ยังไม่มีองค์ความรู้หรือ
ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการปัญหามาช่วยเหลือได้ทันต่อสถานการณ์ แม้ว่าตามธรรมชาติในพื้นที่จะมี
การสร้างฝาย 3 แห่งหลัก ได้แก่ ฝายผาอูฐ ฝายเหมืองใหม่ ฝายเหมืองหลวง และอ่างเก็บน้ำไว้
15 แห่ง และมีการเก็บน้ำไว้ใช้ในทุกฤดูฝน แต่เนื่องจากฝายเดิมแตกประกอบกับหน้าแล้งหลายปี
ติดต่อกันทำให้ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้งได้ จึงทำให้พื้นที่ข่วงเปาประสบภัยแล้ง
ปี พ.ศ. 2558-2559
ด้วยเหตุนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาจึงต้องรีบแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนด้วยการจัด
ทำโครงการเครือข่ายป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำ
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม ประชาชนอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้สามารถประกอบอาชีพได้ในช่วง
อย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ช่วยเหลือ
ภาวะวิกฤติภัยแล้ง รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ระบบประปาหมู่บ้านทุกหมู่บ้านให้มีน้ำใช้
อุปโภคและบริโภคในภาวะขาดแคลนน้ำ เร่งให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่
ทำการเกษตร อุปโภคและบริโภคตลอดทั้งปี สุดท้ายโครงการดังกล่าวเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการ
วางแนวความคิดเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริม
การเกษตร สร้างรายได้ และสร้างแหล่งอาหารในชุมชนตลอดทั้งปี
องค์ประกอบของเครือข่ายและความรับผิดชอบในการดำเนินงาน
ภายใต้การบริหารของนายรุ่งสุริยา เชียงชีระและบุคลากรขององค์การบริหารรส่วนตำบล
ข่วงเปา เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่
ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กจำเป็นต้องประสานและหาภาคีเครือข่ายมาช่วยสนับสนุน
21 สถาบันพระปกเกล้า