Page 226 - kpi20542
P. 226
3. ภาคีเครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแล้ง
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ภาคีเครือข่ายดังกล่าวจะประกอบด้วย
2 หน่วยงานหลัก คือ หน่วยงานราชการในพื้นที่
และบริษัทเอกชน ซึ่งร่วมกันกับองค์การบริหาร
ส่วนตำบลข่วงเปาและชมรมเหมืองฝายกำหนด
มาตรการ แผนงานการให้ความช่วยเหลือจากฐาน
ข้อมูลข้างต้น โดยวางแผนแก้ไขปัญหาในการ
บรรเทาสาธารณภัยแล้ง ดังนี้
ระยะสั้น: เป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาและ
ฟื้นคืนสภาวะให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพ
ได้ในช่วงภัยแล้ง ภายใต้วิธีการให้จัดการความต้องการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำให้สมดุลกับต้นทุนน้ำที่มีอยู่
ในขณะนั้น (แก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่) โดยมีการร่วมประชาคมหมู่บ้าน ประชุมผู้ใช้น้ำ ประชุม
คณะกรรมการระดับตำบลและคณะทำงานระดับอำเภอในการวางแผนออกกฎ ระเบียบและ
บริหารจัดการน้ำร่วมกัน การประปาภูมิภาคจอมทอง ดำเนินการขยายเขตประปาหมู่บ้าน
การสนับสนุนงานช่างประปาในพื้นที่ และการให้การสนับสนุนน้ำในการแจกชาวบ้านในชุมชน
ระหว่างวิกฤติ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ สนับสนุนกระสอบทราย
และถังน้ำเพื่อแจกจ่ายน้ำขนาด 2,000 ลิตร
ระยะยาว: เป้าหมายเพื่อเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
น้ำ เปลี่ยนพื้นที่น้ำเกษตรน้ำฝนเป็นพื้นที่เกษตรชลประทาน ภายใต้วิธีการ
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม ในมาตรการนี้ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่: สนับสนุนเครื่องจักร
1) ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำที่ตื้นเขิน โดยมีภาคืเครือข่ายสำคัญ
และเข้าช่วยเหลือในการขุดลอกอ่างเก็บน้ำจำนวน 3 แห่ง เพื่อทำเป็นแอ่งน้ำเก็บ
น้ำไว้สำหรับบรรเทาภัยแล้ง รวม 2,721,000 บาท กรมทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม: ขุดอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ 6 โครงการ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 36:
ขุดลอกแหล่งน้ำอีก 6 แห่ง ) กรมชลประทาน สนับสนุนการก่อสร้างศูนย์สูบน้ำ
ด้วยพลังไฟฟ้า รวมเป็นเงิน 16,000,000 บาท สำนักงานป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยเชียงใหม่ สนับสนุนถังเก็บน้ำจำนวน 53 ถัง และกระสอบทราย
(จัดทำฝายชะลอน้ำ)
2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 300,000 บาท
220 สถาบันพระปกเกล้า