Page 229 - kpi20542
P. 229
ตัวชี้วัดที่ 2 : มีแหล่งต้นน้ำมากกว่าความต้องการน้ำในพื้นที่ โดยมีผลผลิต ดังนี้
1. มีสถานีสูบน้ำจำนวน 6 แห่งให้บริการสูบและผันน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำและพื้นที่ทางการ
เกษตร
2. มีแหล่งขุดลอกเก็บน้ำจำนวน 15 อ่าง
ตัวชี้วัดที่ 3 : พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มจำนวน 13 แห่งให้สามารถใช้เก็บน้ำได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยมีผลผลิต ดังนี้
1. ของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กรมทรัพยากรธรรมชาติและ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
สิ่งแวดล้อม หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 36 สำนักงานพัฒนาภาค 3 ดำเนินการขุดลอก
อ่างเก็บน้ำในตำบลข่วงเปา
ตัวชี้วัดที่ 4 : ให้มีการขยายพื้นที่เก็บกักน้ำบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยง
กันในพื้นที่เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตลำไย มะม่วงได้ตลอดทั้งปี โดยมีผลผลิต ดังนี้
1. ให้มีการบริหารจัดการโดยผ่านกลุ่มเหมืองฝายและกลุ่มผู้ใช้น้ำพลังงานไฟฟ้า เชื่อมโยง
พื้นที่ในการให้บริการน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค
2. เกษตรกรสามารถผลิตลำไยทั้งนอกและในฤดูจำนวน 419,850,000 บาท/ปี (5598 ไร่
x 25 ต้น ผลผลิตต้นละ 200 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมเฉลี่ย 15 บาท)
3. ปี พ.ศ. 2560 แม้จะเข้าฤดูแล้งตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม แหล่งน้ำธรรมชาติ
ในแม่น้ำปิงและอ่างเก็บกักน้ำในพื้นที่ที่ได้ดำเนินการไว้ส่งผลให้เกษตรกรยังสามารถมี
น้ำใช้ในการเกษตร อุปโภคและบริโภคได้เป็นอย่างดี
ปัจจัยความสำเร็จ
1. ผู้บริหารและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปามีความสามารถในการ กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
บริหารจัดการเครือข่ายและชุมชน แม้ว่าแต่ละภาคีเครือข่ายและชุมชนในตำบลข่วงเปาจะมี
แนวคิดไม่ตรงกัน/หน้าที่ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งคนละทิศทาง แต่ผู้บริหารและทีมงานของ
องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาพยายามเชื่อมโยงหลอมรวมให้ภาคีเครือข่ายร่วมมือกันแก้ไข
ปัญหาไปพร้อมกันได้ สร้างความรู้สึกผูกพันร่วมกันในการทำงาน ร่วมกันรับผิดชอบ รวมทั้งเป็น
ผู้ที่สร้างจุดยืนให้ชุมชนและภาคีเครือข่ายเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองในการแก้ไขปัญหาพื้นที่
ซึ่งผู้บริหารและบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาจะไม่กำหนดบทบาทตนเองเป็นผู้นำ
ในการทำงาน ในทางตรงกันข้ามจะให้ชุมชนเป็นผู้นำในการพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดการบริหาร
สถาบันพระปกเกล้า 22