Page 234 - kpi20542
P. 234

สำหรับโครงการพลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชนนั้น อบต. พลับพลาไชยได้รับ
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  แรงบันดาลใจมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเล็งเห็นว่าการจัดการป่าไม้

                  เป็นจุดกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญ การจัดการทรัพยากรป่าไม้มีความเกี่ยวโยงกับการอนุรักษ์ทรัพยากร
                  น้ำ จึงทรงเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาป่าต้นน้ำเป็นพิเศษ และจากแนวพระราชดำริของพระองค์
                  ก่อให้เกิดโครงการพัฒนาและบำรุงป่าไม้จำนวนมากทั่วประเทศและที่มีอยู่ให้คงอยู่ เพื่อป้องกัน

                  อุทกภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และในขณะเดียวกันก็ถนอมน้ำไว้ใช้สำหรับหล่อเลี้ยงแม้น้ำลำธาร
                  ประกอบกับปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่อาจเกิดความเสี่ยงในการกระทำความผิดทาง

                  กฎหมายในชุมชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ อบต. พลับพลาไชยจะต้องหากิจกรรมหรือโครงการ
                  ที่เหมาะสมให้แก่เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อป้องกันการมั่วสุมของเด็กและ
                  เยาวชนในทางที่ผิด และเพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติดด้วย


                        ดังนั้น อบต. พลับพลาไชย จึงให้ความสำคัญกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน
                  ตำบลพลับพลาไชยดังที่กล่าวมา จึงได้จัดทำโครงการ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน”

                  ขึ้น เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของเด็กและเยาวชนกับชุมชน ในการทำกิจกรรมสันทนาการเชิง
                  สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน โดยมุ่งความสนใจไปที่บ้านหนองการ้อง หมู่ 11 ตำบลพลับพลาไชย

                  ซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำ และแหล่งอาหารในการประกอบอาชีพของ
                  ชาวบ้านหนองการ้องและชาวตำบลพลับพลาไชย เนื่องจากที่ผ่านมาป่ามีสภาพเสื่อมโทรมจาก
                  การบุกรุกของประชาชนที่เข้ามาทำลายป่าเพื่อสร้างเป็นแหล่งทำกิน การขาดการสอดส่องดูแลป่า

                  ร่วมกัน ทำให้ปริมาณต้นไม้ในป่าลดน้อยลง ส่งผลให้แหล่งอาหารที่สามารถหาได้ในป่า ต้นน้ำลด
                  ลงตามไปด้วย ฝนเริ่มทิ้งช่วง และเมื่อมีฝนตกหนักมักเกิดน้ำป่าไหลหลากเข้ามาท่วมพื้นที่ทำการ

                  เกษตรของชาวบ้านจนเกิดความเสียหาย ชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน ทำให้
            กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม   ในการดำเนินโครงการซึ่งประกอบด้วย 1) กลุ่มเยาวชนพลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน
                  อบต. พลับพลาไชยต้องหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยเริ่มจากการกำหนดผู้รับผิดชอบ



                  2) คณะกรรมการป่าชุมชนหนองการ้อง หมู่ 11 ตำบลพลับพลาไชย และ 3) เจ้าหน้าที่นักถักทอ
                  ชุมชนของ อบต. พลับพลาไชย ร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ เพื่อสร้าง

                  กิจกรรมให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของและรับผิดชอบแหล่งทรัพยากร
                  ธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองร่วมกับชุมชนจนประสบความสำเร็จในปัจจุบัน


                        จากข้อมูลเบื้องต้นของ อบต. พลับพลาไชยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปและ
                  ความสำคัญของการดำเนินโครงการพลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน และการขับเคลื่อน
                  โครงการด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในเรื่องต่าง ๆ ที่อบต. ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วย

                  ตนเองจนประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลพระปกเกล้า ด้านการส่งเสริมเครือข่ายรัฐ เอกชน





                22    สถาบันพระปกเกล้า
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239