Page 238 - kpi20542
P. 238
ตนเองขึ้นมา โดยแบ่งหน้าที่กันดูแลแต่ละหมู่บ้าน สมาชิกในทีมจะประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ของ
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
อบต.พลับพลาไชย ทีมละ 2 – 5 คน ซึ่งลูกทีมของแกนำทั้ง 5 คน จะถูกเรียกว่านักถักทอรุ่นที่ 2
และเมื่อมีการสร้างทีมเกิดขึ้น สิ่งต่อมาคือการหารือภายในทีมถึงการดำเนินกิจกรรมกับเด็กและ
เยาวชนต่อไปในอนาคต จึงได้ตกลงที่จะจัดโครงการ พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน ขึ้นใน
พื้นที่หมู่ 11 แต่ก่อนจะก้าวไปสู่การดำเนินงานในลำดับต่อไปนั้นขออธิบายย้อนกลับไปถึงที่มาของ
การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพิทักษ์ป่าให้เข้าใจพอสังเขปเสียก่อนดังนี้
กล่าวคือในช่วงแรกก่อนที่จะเกิดเป็นโครงการพลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน และ
ก่อนที่จะมีโครงการนักถักทอชุมชนดังที่ได้กล่าวไปนั้น นายคมสัน พันธุ์เสือ เจ้าหน้าที่ของ อบต.
พลับพลาไชย (ซึ่งต่อมาเป็นนักถักทอชุมชนรุ่นที่ 2) ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลพื้นที่ป่าชุมชน
อยู่ก่อนแล้ว และในช่วงเวลานั้นประชาชนได้แจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ว่ามีประชาชนบางกลุ่มได้นำ
ขยะไปทิ้งบริเวณป่าชุมชน ทำให้นายคมสัน พันธุ์เสือต้องเข้าไปสำรวจป่าชุมชนว่ามีการทิ้งขยะ
เกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปในป่าก็พบว่ามีขยะถูกนำมาทิ้งไว้ในป่าจริง ๆ แต่สิ่งที่
สำคัญอีกประการคือ เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปสำรวจป่านั้นได้มองเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้
ที่ควรได้รับการดูแลรักษา โดยในป่ามีทั้งน้ำตก ต้นไม้ประจำถิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่ได้สอบถามไปถึงที่มาของขยะกับพบว่าผู้ที่นำขยะมาทิ้งเป็น
ประชาชนจากพื้นที่อื่นไม่ใช้ประชาชนในชุมชน ทำให้ตระหนักคิดได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้
แล้วชุมชนจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ซึ่งหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ได้มี
การปรึกษาพูดคุยกับผู้นำชุมชนในหมู่ 11 ถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ได้ดำเนินการ
แก้ไขปัญหาในทันที จนกระทั้งประจวบเหมาะกับที่มูลนิธิสยามกัมมาจล และธนาคารไทยพาณิชย์
เข้ามาอบรม นักถักทอชุมชน รุ่นที่ 1 และทางเจ้าหน้าที่เองได้เข้ามาเป็นนักถักทอชุมชนรุ่นที่ 2
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างเด็ก ชุมชน และ อบต. โดยมีจุดร่วมที่ตรงกันว่า เจ้าหน้าที่และอบต. อยากทำเรื่องเด็ก
จึงได้นำเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นผู้ร้อยเรียง
ส่วนชุมชนสนใจเรื่องป่า จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินโครงการ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์
ป่าชุมชน” และได้ทีมผู้ใหญ่ใจดี ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนในหมู่บ้านหนองการ้อง หมู่ 11 จำนวน 5 คน
มาร่วมสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรม
และในปี พ.ศ. 2558 เด็กและเยาวชนรุ่นแรกได้เริ่มเข้าสู่โครงการฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
ลูกหลานของแกนนำนักถักทอชุมชน รุ่นที่ 1 เป็นเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – มัธยมศึกษาปีที่ 3
จำนวน 25 คน โดยเริ่มจากการนำเด็กมาทำกิจกรรมและลงไปทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ซึ่งใน
ช่วงแรกนั้นยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากอบต. พลับพลาไชย มูลนิธิสยามกัมมาจล
หรือธนาคารไทยพาณิชย์เลย แต่ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
2 2 สถาบันพระปกเกล้า