Page 240 - kpi20542
P. 240

เยาวชนได้ ซึ่งเครือข่ายที่เข้ามาร่วมในกิจกรรมปลูกป่าที่สำคัญ คือ เจ้าคณะอำเภอ วัดเขาดีสลัก
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  โดย อบต. ได้เข้าไปเชิญท่านมาร่วมปลูกป่า เมื่อท่านเจ้าคณะอำเภอเข้าร่วมในกิจกรรมยิ่งทำให้ได้

                  รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น เพราะมีท่านเจ้าคณะอำเภอเป็นศูนย์รวมจิตใจทำให้
                  ประชาชนอยากเข้ามาร่วมในกิจกรรมมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และหิน
                  ในการสร้างฝายจากบริษัทศิลามาตรศรี จำกัด และได้เด็กและเยาชนจากโรงเรียนต่าง ๆ

                  ในพื้นที่มาร่วมในการทำกิจกรรม จนกระทั่งเวลาผ่านไปจากปี พ.ศ. 2558 เข้าสู่ปี พ.ศ. 2559
                  การดำเนินกิจกรรมปลูกป่าและสร้างฝายของเด็กและเยาวชนพบว่ามีต้นไม้ที่รอดจากการปลูก

                  ประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ จากที่ช่วงแรกไม่รอดเลยแม้แต่ต้นเดียว ถึงจะเป็นอัตราส่วนที่น้อย
                  แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการปลูกป่าสร้างฝาย นอกจากนี้อบต.ยังสร้างฐานการเรียนรู้ในป่า
                  ซึ่งแบ่งเป็นฐาน ๆ ฐานละ 20 คน เพื่อให้เด็กและเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่สนใจในการดูแล

                  รักษาป่าไม้ได้เข้ามาร่วมกิจกรรม เช่น กิจกรรมดับไฟป่า กิจกรรมปลูกป่าหรือกิจกรรมสร้างฝาย
                  เป็นต้น ซึ่งอบต. พลับพลาไชยก็ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนพร้อมทั้งร้อยเรียงเข้ากับ

                  ชุมชนในการปลูกป่าและสร้างฝาย ควบคู่ไปกับเครือข่ายในการดำเนินงาน จนกระทั่งปี
                  พ.ศ. 2560 อบต. พลับพลาไชย เริ่มตระหนักคิดและตั้งคำถามกับการดำเนินกิจกรรมว่า “อบต.
                  และเครือข่ายร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมอะไรไปนั้น ก็จะได้กิจกรรมนั้นกลับคืนมา กล่าวคือ

                  การดำเนินกิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาวชนในการปลูกป่าและสร้างฝาย ผลที่ได้รับคือ
                  ได้กิจกรรมการปลูกป่าและสร้างฝาย ที่ต้นไม้รอดไม่กี่เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งฝายก็ไม่มีน้ำ สุดท้าย

                  แล้วเด็กและเยาวชนจะได้รับอะไร ?”

                        ทำให้ในปี พ.ศ. 2560 อบต. พลับพลาไชยต้องหาทางออกสำหรับการพัฒนาเด็กและ

                  เยาวชนให้มีองค์ความรู้และสามารถจัดโครงการที่พัฒนาเด็กและเยาวชนได้จริง อย่างไรก็ตาม
            กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม   การวิจัย (สกว.) ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยพอดี เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว สกว. จับมือกับ
                  แนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาของ อบต. พลับพลาไชยประจวบเหมาะกับที่สำนักงานกองทุนสนับสนุน



                  สยามกัมมาจล ดำเนินโครงการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน รวมถึงเรื่องเด็กและเยาวชนด้วย
                  ซึ่งเมื่อ สกว. รับรู้ว่า อบต. พลับพลาไชยได้ดำเนินโครงการเพื่อที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชน

                  พร้อมกับร้อยเรียงกิจกรรมเข้ากับชุมชนด้วย จึงให้ความสนใจและเข้ามาร่วมในการประชุมระหว่าง
                  เด็กเยาวชนและชุมชน พร้อมกับฝากข้อคิดให้กับ เด็ก เยาวชน และชุมชนได้คิดต่อไปว่า “พันธ์ุไม้
                  ประจำถิ่นคืออะไร ต้นไม้ที่ปลูกมาตลอดนั้นรอดกี่เปอร์เซ็นต์ ฝนตกกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี” จาก

                  คำถามชวนคิดของสกว. ทำให้อบต. กลับมาคิดทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาและได้เข้าร่วมทำ
                  MOU กับสกว. โดยให้ สกว. มาเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินกิจกรรม 20 เดือน ระหว่างปี พ.ศ. 2560

                  - 2561 เพื่อที่จะดำเนินโครงการต่อไปในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งทำให้ในช่วงนี้สกว. เป็นเครือข่าย
                  ที่สำคัญเป็นทั้งผู้ช่วยและเป็นเหมือนเพื่อนในการดำเนินโครงการ โดย สกว. เน้นที่จะเข้ามาสร้าง




                2     สถาบันพระปกเกล้า
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245