Page 245 - kpi20542
P. 245
กรณีตัวอย่าง โครงการนี้แสดงให้เห็นความพยายามของเทศบาลในการลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง
และจริงจัง รวมถึงความสามารถในการสร้างเครือข่ายรณรงค์ด้านการใช้พลังงานจากหน่วยภาครัฐ
และภาคประชาชนในพื้นที่ ที่มาช่วยกันขับเคลื่อนโครงการจนเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
ภาพรวมการอนุรักษ์พลังงานในจังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดบุรีรัมย์ถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกลไกการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม พิจารณา
ได้จากกิจกรรมและโครงการด้านพลังงานต่าง ๆ ที่ปรากฏในผลการสำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2554-
2560 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2557, น. 5-1 – 5-2) และกระทรวง
พลังงาน (2560) อันมีข้อมูลโดยสังเขปต่อไปนี้ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
โครงการด้านพลังงานทดแทนและด้านอนุรักษ์พลังงาน ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2557
จังหวัดบุรีรัมย์ได้ดำเนินโครงการด้านพลังงานทดแทน 5 โครงการด้วยกัน ได้แก่ โครงการเชื้อเพลิง
ชีวมวลทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม โครงการผลิตก๊าซชีวภาพ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
ทดแทน โครงการใช้ไบโอดีเซล และโครงการใช้เอทานอล ซึ่งพลังงานทดแทนที่ถูกใช้มากที่สุด
ในจังหวัดได้แก่พลังงานที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ส่วนโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน ในปี
พ.ศ. 2555 จังหวัดบุรีรัมย์ดำเนินการ 2 โครงการด้วยกัน ได้แก่ โครงการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
และโครงการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
อาคารและโรงงานควบคุม ตามสถิติปี พ.ศ. 2560 จังหวัดบุรีรัมย์มีอาคารและโรงงาน
ควบคุมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานรวมทั้งสิ้น 26 แห่งด้วยกัน แบ่งเป็นอาคารควบคุม 7 แห่ง และ
โรงงานควบคุม 19 แห่ง โดยในส่วนของโรงงานควบคุม มีการใช้พลังงานทดแทนประเภทพลังงาน
แสงอาทิตย์มากที่สุด
แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าทดแทน จังหวัดบุรีรัมย์มีแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าทดแทนที่น่า
สนใจสองประเภทด้วยกัน ได้แก่ โรงผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer –
VSPP) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก 17 แห่ง และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ที่ใช้ กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
21
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนอีก 7 แห่ง ซึ่งจากผลการสำรวจปี พ.ศ. 2560 จังหวัด
บุรีรัมย์ได้สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อแก้ปัญหา
ภัยแล้ง โดยการสนับสนุนงบประมาณในการสูบน้ำเพื่อการเกษตรและสาธารณูปโภคด้วยพลังงาน
แสงอาทิตย์ด้วย
21 VSPP คือ แหล่งผลิตไฟฟ้าทางเลือกขนาดเล็กที่มีพลังไฟฟ้าขายเข้าระบบไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ สามารถดำเนินการ
ได้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป มีลักษณะเด่นคือสามารถใช้พลังงานนอกรูปแบบที่หาได้จากชุมชน เช่น
กากหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ มาผลิตไฟฟ้า ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ
อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการพึ่งพิงไฟฟ้าจากผู้ผลิตกระแสหลักได้ (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน,
2559)
สถาบันพระปกเกล้า 2