Page 250 - kpi20542
P. 250
จากคลองน้ำเสียมารดน้ำต้นไม้ พืชผลทางการเกษตร หรือใช้ดับเพลิงแทนน้ำประปา ทำให้ลดค่า
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ใช้จ่ายด้านไฟฟ้าและประปาไปพร้อมกัน
นอกจากนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าโดยตรงแล้ว เทศบาลตำบลกระสังยังต่อยอดด้วยการสร้าง
ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการอบแห้งอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ปลาตากแห้ง
เนื้อแดดเดียว ขนมนางเล็ด ฯลฯ แทนการตากแห้งกับแสงอาทิตย์โดยตรง โดยจุดเด่นของตู้อบ
พลังงานแสงอาทิตย์คือ ประหยัดไฟฟ้า ได้ผลเร็ว สะอาด และแมลงไม่รบกวน ทำให้ผลิตผลที่ได้
รับต่อครั้งมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเทศบาลได้แจกตู้อบดังกล่าวให้ชุมชนละ 1 หลัง โดยหาก
ประชาชนคนใดต้องการตู้เป็นของตัวเอง ก็สามารถนำแบบไปสร้างเอง หรือสั่งทำกับทางเทศบาล
ในราคาหลังละ 800 บาท
ภาพที่ 3 แผงเซลล์แสงอาทิตย์ของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร แรงบันดาลใจสำคัญ
ในการขยายโครงการของเทศบาลตำบลกระสัง. จาก พลังงานแสงอาทิตย์. โดย อุทยาน
สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร, ม.ป.ป.,
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
สืบค้นจาก http://www.sirindhornpark.or.th/2019/learning.php?id=299
2 สถาบันพระปกเกล้า