Page 252 - kpi20542
P. 252
ผลสำเร็จ
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ผลสำเร็จที่ได้รับอย่างเป็นรูปธรรมของโครงการนี้ คือเทศบาลตำบลกระสังสามารถลด
ค่าไฟฟ้าได้ตามความต้องการแรกเริ่มก่อนที่จะดำเนินโครงการนี้ รวมถึงสามารถทำกิจกรรมลด
การใช้พลังงานและสร้างนวัตกรรมที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้รับประโยชน์
ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ
ส่วนผลกระทบ (impact) จากผลสำเร็จของโครงการนี้ คือสามารถสร้างแรงจูงใจให้
หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการลดการใช้พลังงานตามได้ เช่นกรณีของโรงเรียนกระสังพิทยาคม
ที่ดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟทั้งอาคารเรียนให้เป็นแบบแอลอีดี และติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์
บนหลังคา โดยทางโรงเรียนคาดหวังว่าจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าเดือนละไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนบาท
ปัจจัยความสำเร็จ
1. ผู้บริหารเทศบาลมีวิสัยทัศน์ เปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นของบุคลากรในการดำเนิน
กิจกรรมของโครงการ รวมถึงแสดงให้เห็นความจริงจังในการลดการใช้พลังงานในพื้นที่อย่าง
ต่อเนื่อง
2. บุคลากรของเทศบาลที่มีส่วนร่วมกับโครงการกระตือรือร้นในการทำงาน และแสวงหา
ความรู้เกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของโครงการได้อย่างเป็น
รูปธรรม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้หลังจากได้ไปศึกษาดูงาน
ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
3. ความเป็นคนในพื้นที่ของบุคลากรทั้งในเทศบาล หน่วยงานเครือข่าย และ อส.พน.
กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้พวกเขากระหายที่จะแก้ปัญหาด้านพลังงานให้แก่ชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือน “บ้าน” ของ
ตัวเอง
4. เทศบาลดำเนินโครงการและสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยยึดประโยชน์ที่เกิดต่อ
ประชาชนในชุมชนเป็นหลัก ทำให้สามารถแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน
ด้านการใช้พลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
5. เทศบาลได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายที่มีศักยภาพ และพร้อมให้การสนับสนุนทั้ง
งบประมาณและความรู้
2 สถาบันพระปกเกล้า